วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับผู้เรียน คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ วัตถุ สิ่งมีชีวิต และสิ่งต่างๆในโลกรอบตัว ซึ่งเป็นโอกาสที่จะทำให้ผู้เรียนได้ค้นพบกับคำตอบของทุกปรากฏการณ์ด้วยตัวเอง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์เข้ากับกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ได้ ผ่านการทดลอง การสร้างแบบจำลอง ผนวกกับการคิดเชิงวิพากษ์ และสร้างสรรค์ นอกจากนั้น การเรียนรู้และเข้าใจวิทยาศาสตร์ยังนำไปสู่การค้นพบว่าวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการสร้างและใช้เทคโนโลยี ซึ่งนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม การแพทย์ รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ ได้ตั้งเป้าหมายและดำเนินการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง โดยมีการจัดทำหลักสูตรเป็นของตนเอง ซึ่งใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นพื้นฐาน และได้นำเอาแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานโลกมาใช้ โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนการสอนของไทย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างสูงสุด ทัดเทียมในระดับโลก ตลอดจนถึงการนำสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายมาใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการทำโจทย์และแบบฝึกหัดที่ครอบคลุมในทุกเนื้อหา การดำเนินการจัดการเรียนรู้ข้างต้น ทางโรงเรียนฯ ได้นำข้อมูล สื่อ จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรักในการเรียนวิทยาศาสตร์ และพัฒนาความสามารถและทักษะทางการเรียนต่อไป

ปัจจัยของมิติการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Factors in Dimensions of Scientific Literacy)

  • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์เข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ผู้เรียนได้สืบเสาะและค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตัวเอง
  • แนวคิดวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ (Key Sciences Concepts) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์ เข้าใจและสามารถนำเอาแนวคิด หลักการ กฎ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้
  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Processes of Science) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำความเข้าใจในสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • ความสัมพันธ์กันระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม (Science-Technology-Society-Environment-Interrelationships) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ทักษะทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิค (Scientific and Technical Skills) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์ได้พัฒนาตนเองให้เกิดทักษะการใช้ร่างกาย สำหรับการปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คุณค่าที่แสดงความเป็นวิทยาศาสตร์ (Values That Underlie Science) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในวิถีทางที่สอดคล้องกับคุณค่าที่แสดงความเป็นวิทยาศาสตร์
  • ความสนใจและทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (Science-Related Interests and Attitudes) บุคลลผู้รู้วิทยาศาสตร์ได้พัฒนาตนเองให้มีมุมมองในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นเอกลักษณ์ และสานต่อเพื่อขยายการศึกษาไปตลอดชีวิต
Error | Attaphiwat

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.