ประถมศึกษา

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์

คณะผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้ใช้เวลา 2 ปีก่อนเริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนและยังคงทำอย่างต่อเนื่อง ในการสร้าง พัฒนาและบริหารหลักสูตรของโรงเรียนเพื่อให้เป็นหลักสูตรในบริบทไทยในระดับมาตรฐานโลกที่ทันสมัยอยู่เสมอ

ในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนฯ บนพื้นฐานของ "หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑" โรงเรียนฯ ได้นำเอาจุดเด่นของแหล่งความรู้มาตรฐานโลกต่างๆ มาผสมผสานเพื่อทำให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์และคุณภาพทั้งในส่วนของเนื้อหาและกระบวนการจัดการเรียนการสอน เป็นการนำเข้า (import) ความรู้จากประเทศต้นแบบ เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนฯ ทั้งนี้ เอกสาร แหล่งความรู้และข้อมูลหลักที่โรงเรียนฯ นำมาใช้พัฒนาหลักสูตรบนมาตรฐานและข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการได้แก่

  • หลักสูตรมาตรฐานโลกของประเทศต้นแบบที่มีมาตรฐานการศึกษาในลำดับต้นของโลก เช่น Evergreen curriculum ของประเทศแคนาดา หลักสูตรของประเทศสิงคโปร์ และหลักสูตรของสหราชอาณาจักร เป็นต้น
  • มาตรฐานโลกในรายวิชาต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนำมาใช้ เช่น มาตรฐานคณิตศาสตร์ของ NCTM (National Council of  Teachers of Mathematics) มาตรฐานวิทยาศาสตร์ NSTA (National Science Teachers Association)
  • ตำราเรียนของสำนักพิมพ์ Houghton Miffin Harcourt และสำนักพิมพ์ McGraw Hill แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
  • แหล่งข้อมูลความรู้จากเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เช่น วิกิพีเดีย, Buddhanet, cimt.plymouth.ac.uk, illuminations.nctm.org

สาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาแกน

โรงเรียนฯ ได้ปรับจำนวนรายวิชาที่คณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน กำหนดไว้ 9 วิชา เป็น 12 วิชา เพื่อความเหมาะสม นักเรียนได้เรียนรู้จริงในแต่ละ กลุ่มสาระ และได้เห็นการเชื่อมโยงกับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ทั้งนี้ โรงเรียนฯได้แยกกลุ่ม สาระการเรียนรู้รายวิชาต่อไปนี้

  • แยกวิชาศิลปะออกเป็น วิชาดนตรีและนาฏศิลป์ และวิชาทัศนศิลป์ เพราะคุณครูผู้สอนมักมีความชำนาญเฉพาะด้าน
  • แยกวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ออกเป็นวิชาสุขศึกษา และวิชาพลศึกษา วิชาสุขศึกษามีความเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์และพลศึกษา
  • แยกวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ออกเป็น วิชาการงานอาชีพ และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพราะคุณครูผู้สอนมักมีความชำนาญเฉพาะด้าน บรรยากาศการเรียนของทั้งสองวิชาแตกต่างกัน

ตัวอย่างการยกระดับหลักสูตร

โรงเรียนฯ ได้ดำเนินการในการสร้างการเรียนรู้คุณภาพบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ในหลายด้านหลายประการ เพื่อให้เห็นภาพของการดำเนินการดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้น จึงใคร่ยกตัวอย่างของการดำเนินการดังกล่าวบางประการ ดังต่อไปนี้

  • นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว โรงเรียนฯได้จัดทำหลักสูตรในลักษณะที่เป็น การเรียนรู้บนฐานของทรัพยากรการเรียนรู้ (resource based learning) โดยใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลายหลากนอกเหนือไปจากครูและกระดาน ตัวอย่างของทรัพยากรการเรียนรู้เหล่านี้ได้แก่ สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (manipulatives) สื่อภาษาอังกฤษต่างๆ (reading rods, vocabulary cards, posters, video clips, ภาพยนตร์) สื่อและวัสดุอุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ การนำเสนอด้วย PowerPoint (หรือ Keynote ในกรณีของเครื่อง Apple)สื่อวัสดุหลายหลากสำหรับงานทัศนศิลป์ อุปกรณ์ดนตรี เช่น Key Board ทั้งนี้โรงเรียนฯ ได้จัดระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายครอบคลุมทั่วบริเวณโรงเรียนฯ และในทุกห้องเรียนได้จัดให้มีจอมอนิเตอร์ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ฯลฯ
  • โรงเรียนฯ ได้จัดให้มีกิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข” ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลากหลายและไม่จำกัดขอบเขต เนื้อหาเพียงในหลักสูตรเท่านั้น
  • โรงเรียนฯ ได้จัดระบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการทดลองเป็นหลัก เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นพบความรู้ หรือยืนยันสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง จัดระบบแบ่งวิทยาศาสตร์ออกเป็น 3 หมวดได้แก่ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์โลก (ดาราศาสตร์) และกระจายเนื้อหาในแต่ละหมวดในแต่ละชั้นปีให้มีความต่อเนื่องเป็นปริมาณใกล้ เคียงกัน
  • โรงเรียนฯ ได้ขยายเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ให้ครอบคลุมถึงประวัติศาสตร์โลกโดยกว้าง เพื่อใช้เชื่อมโยงสู่ประวัติศาสตร์ไทย และสร้างความหมายและเนื้อหาของวิชาประวัติศาสตร์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • โรงเรียนฯ ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้สมบูรณ์เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่าน และเขียนภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างคล่องแคล่ว
  • โรงเรียนฯ ได้จัดทำเอกสารตำราเรียนโดยเรียบเรียงและนำมาปรับให้เหมาะสมจากเอกสารตำรา เรียนระดับมาตรฐานโลก และแหล่งข้อมูลทางวิชาการ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • โรงเรียนฯ ได้พัฒนาให้นักเรียน “รู้” (ไม่ใช่ท่อง) สูตรคูณอย่างคล่องแคล่วเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นต่อไป พร้อมทั้งปูพื้นฐานการคิดเชิงพีชคณิตคู่ขนานไปกับการสอนเลขคณิต เพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการคิดให้แตกกว้างออก
  • โรงเรียนฯ ได้เรียบเรียงและจัดทำตำราเรียน “เพลินภาษา” เป็นส่วนเพิ่มขยายของวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านใน 8 ด้านได้แก่ ความคิดหลักและรายละเอียด ลำดับเหตุการณ์ เปรียบเทียบความคล้ายและความแตกต่าง สรุปย่อ สรุปความ มูลเหตุและผลลัพธ์ ปัญหาและคำตอบ และข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นนอกจากนี้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ตำราเรียน “เพลินภาษา” นี้ยังเป็นการปลูกฝังความรักในการอ่านให้กับนักเรียนอีกด้วย
  • โรงเรียนฯ ได้จัดการเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ทั้งในตัววิชาและให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในโอกาสต่างๆ เช่น กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนสามารถใช้โปรแกรมพื้นฐาน เช่น Microsoft Word Microsoft Excel Photoshop และนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆได้ รู้จักวิธีการสืบค้นหาความรู้และข้อมูล
  • โรงเรียนฯ ได้จัดทำสมุดรายงานการประเมินผลนักเรียนอย่างละเอียดครบถ้วนในทุกด้าน โดยจัดทำปีละ 4เล่ม

คณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ ได้ตั้งเป้าหมายการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของโรงเรียน ให้เป็นการจัดการเรียนรู้ระดับชั้นนำในมาตรฐานโลกที่ปรับแต่งให้สอดคล้องกับบริบทของไทย บรรยากาศในห้องเรียน เจตคติ ความมั่นใจและแรงบันดาลต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนอัตตาภิวัฒน์ ตลอดจนถึงผลการสอบที่ดีเยี่ยมในระดับประเทศและความสำเร็จในการเรียนในระดับมัธยมของนักเรียนที่จบไปแล้ว ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จสู่ เป้าหมายของโรงเรียนฯได้เป็นอย่างดี

แนวทางการพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาและการดำเนินการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สอดคล้องกับการจัดการในภาพรวมของโรงเรียนฯ ซึ่ง กลุ่มสาระฯ ได้ใช้ข้อกำหนดและมาตรฐานในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี ๒๕๕๑ เป็นเกณฑ์ขั้นตำ่ และได้นำเอา ปรัชญาและแนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จากหลักสูตรและมาตรฐานคณิตศาสตร์ระดับโลกมาใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนฯ การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความมั่นใจให้กับโรงเรียนฯ และตัวนักเรียนเอง ถึงศักยภาพและความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนว่าครอบคลุมครบถ้วนทั้งในระดับประเทศและระดับมาตรฐานโลก แหล่งข้อมูลที่กลุ่มสาระฯ นำมาใช้นั้นมีมากมายหลายหลาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งองค์กรต่างๆ ได้นำเสนอและพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้ บทเรียน

โจทย์ปัญหา และกิจกรรมการเรียนรู้ ไว้อย่างมากมาย ซึ่งกลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ใคร่ถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณในความเปิดกว้างขององค์กรเหล่านี้มา ณ.ที่นี้ แหล่งความรู้และแหล่งข้อมูลหลักๆ ที่กลุ่มสาระฯ นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนฯ ได้แก่

  • Evergreen Curriculum ของ รัฐ Saskatchewan ประเทศ Canada
  • ตำราเรียนคณิตศาสตร์ ของสำนักพิมพ์ Harcourt ประเทศสหรัฐอเมริกา ตำราดังกล่าวเป็นตำราที่ใช้กันทั่วไป เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรของประเทศสิงคโปร์ ในช่วงระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา ประเทศสิงค์โปร์นับเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยได้ถูกจัดให้อยู่ใน 3 ลำดับแรกของโลกมาโดยตลอด
  • โปรแกรมการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของสหราชอาณาจักรของ Center for Innovation in Mathematics Teaching ภายใต้การจัดการของมหาวิทยาลัยพลีมัธและมหาวิทยาลัยเอ็กซีเทอร์
  • มาตรฐาน NCTM (The National Council of Teachers of Mathematics) ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ใช้กันทั่วโลก
  • Website illuminations.nctm.org เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล บทเรียน และกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีประโยชน์มาก เว็บไซต์ดังกล่าวนี้ NCTM เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่ ให้ความรู้การจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
  • เว็บไซต์คณิตศาสตร์ อื่นๆ ซึ่งจะได้นำเสนอเป็นแหล่งอ้างอิงในตอนท้ายนี้

สอนอย่างไร...สําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า...สอนอะไร

สอนอย่างไร...สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า...สอนอะไร

ขอบเขตหลักสูตรคณิตศาสตร์ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่น จำนวนและการดำเนินการ เรขาคณิต ชั่งตวงวัด ข้อมูลและการวิเคราะห์ และโจทย์ปัญหา กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ให้ความสำคัญกับวิธีการและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนนอกเหนือไปจากเนื้อหาในสาระต่างๆ เหล่านี้ การจัดการกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของโรงเรียน เอาใจใส่กับประเด็นต่อไปนี้

  • คำจำกัดความ...เหตุผล...วิธีการ (Know What...Know Why...Know How)
  • สื่อที่เป็นรูปธรรม...รูปภาพ...สัญลักษณ์ (Concrete...Pictorial...Symbols)
  • สถานการณ์ของความเป็นจริง (Real World Situation)
  • แบบจำลอง (Models)
  • ความรู้สึกทางจำนวน (Sense of Number)
  • การเรียนรู้แบบบันไดเวียน (Spiral Learning)
  • แบบฝึกหัดและโจทย์

คำจำกัดความ...เหตุผล...วิธีการ (Know What...Know Why...Know How)

     

การสอนตั้งต้นที่ความหมายของสิ่งที่จะเรียนก่อน แทนที่จะให้นักเรียนจดจำวิธีการ การเรียนแบบนี้ทำให้นักเรียนได้เข้าใจในเรื่องที่จะเรียนอย่างลึกซึ้ง ทำให้การเรียนรู้มีความหมายกับตัวนักเรียนเอง บ่อยครั้งที่นักเรียนจะพัฒนาวิธีการคิดคำนวณได้เองหลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในคำจำกัดความ

สื่อที่เป็นรูปธรรม...รูปภาพ...สัญลักษณ์

     

นักเรียนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องยาก เพราะได้รับการเริ่มต้นสอนด้วยสัญลักษณ์ (ตัวเลข เครื่องหมาย) ซึ่งมีความเป็นนามธรรม เข้าใจได้ยาก ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาสื่อที่จับต้องได้ มีความเป็นรูปธรรม และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลักสูตรมาตรฐานโลก โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้นำเอาวิธีการและแนวทางดังกล่าวนี้มาใช้ โดยได้จัดหาและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตั้งต้นจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เด็กๆเรียนอย่างเข้าใจ สนุกสนานกับการเรียน และประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี และอย่างเต็มศักยภาพทุกคน

สถานการณ์ของความเป็นจริง (Real World Situation)

สถานการณ์ของความเป็นจริง (Real World Situation)

การเรียนรู้ในสถานการณ์ความเป็นจริง ช่วยให้นักเรียนสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ดี สามารถประยุกต์ใช้ความรู้แก้ปัญหาได้ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของโรงเรียนฯ ได้สอดแทรกการดำเนินการดังกล่าวอยู่เสมอ กรณีตัวอย่างที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมได้แก่ การให้นักเรียนชั้นประถม ๒ สำรวจความคิดเห็นโดยให้กลุ่มตัวอย่างได้ชิมอาหารจริง บันทึกจริง และนำข้อมูลจริงดังกล่าวมาใช้ในบทเรียนที่เกี่ยวข้องกันต่อไป

แบบจำลอง

การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ใช้แบบจำลองต่างๆ ที่หลายหลากเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของเด็กให้ลึกซึ้งกว้างขวางและเห็นภาพในองค์รวมได้ดียิ่งขึ้น แบบจำลองดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ตาราง แบบรูป และแผนผัง

Bar Model แบบจำลองจากหลักสูตรประเทศสิงคโปร์

Bar Model แบบจำลองที่นำมาจากหลักสูตรประเทศสิงคโปร์

ตัวอย่าง
ในตอนเช้า แม่ค้ารายหนึ่งขายไข่ไก่ไปได้เท่ากับ 3/5 ของที่มีอยู่ ต่อมาในตอนบ่ายขายไปได้อีก 1/4 ของที่เหลือ ถ้าในตอนเช้าแม่ค้าขายไข่ไก่ได้มากกว่าในตอนบ่ายอยู่ 450 ฟอง ในตอนต้นแม่ค้ารายนี้มีไข่ไก่อยู่กี่ฟอง

วิธีใช้ Bar Model

ความรู้สึกทางจำนวน

การพัฒนาความรู้สึกทางจำนวนช่วยยกระดับความรู้ความเข้าใจและความหมายในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลักสูตรคณิตศาสตร์ของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์พัฒนาความรู้สึกทางจำนวนให้กับนักเรียนใน 6 ด้าน คือ

  • ขนาดที่ดูสมเหตุผล เช่น ประตูสูงประมาณ 2.5 เมตร ลิฟต์บรรทุกน้ำหนักได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม
  • ความละเอียดแม่นยำของข้อมูล เช่น ลิฟต์บรรทุกได้หนัก 1,000 กิโลกรัม ไม่ใช่ 997.5 กิโลกรัม ความสามารถในการบรรทุกไม่น่าจะกำหนดได้ละเอียดถึงระดับทศนิยม
  • ค่าอ้างอิง ตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยสูงประมาณ 300 เมตร ขวดน้ำดื่มมีความจุ 500 มิลิลิตร
  • ทักษะการกะประมาณผลการคำนวณ (บวก ลบ คูณ และหาร) การกะประมาณก่อนคำนวณจริง ทำให้นักเรียนคิดอย่างมีเป้าหมาย
  • ทักษะการคาดคะเน ความยาว ความจุและน้ำหนัก การกะประมาณก่อนดำเนินการชั่งตวงวัดจริง ทำให้นักเรียนรู้จักเอาใจใส่ และตั้งเป้าหมายการเรียนรู้
  • ทักษะการกะประมาณค่า

การเรียนรู้บนพื้นฐานของทรัพยากรการเรียนรู้

การเรียนรู้บนพื้นฐานของทรัพยากรการเรียนรู้ (Resource-based Learning)

การนำเอาสื่อทรัพยากรมาใช้สามารถช่วยยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดีในทุกด้าน

ในกรณีของคณิตศาสตร์ นั้น สื่อในลักษณะที่เรียกว่า Manipulatives ช่วยทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม สร้างความคล่องแคล่ว ไหลลื่นให้กับบทเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตรงกับบทเรียน ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ดังกล่าวในการทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการศึกษา จัดหาและจัดทำแผนการเรียนรู้ เพื่อนำเอาสื่อ Manipulatives มาใช้ร่วมในบทเรียนคณิตศาสตร์ของโรงเรียน

การต่อยอดความรู้

ตัวอย่างการต่อยอดความรู้และการจัดกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์: สูตรคูณ

ย่อมเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า สูตรคูณเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามการเรียนรู้สูตรคูณโดยการท่องจำนั้นต้องอาศัยความอุตสาหะพยายาม ซึ่งทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งเกิดความท้อ ยอมแพ้ ไม่สามารถ”รู้” สูตรคูณ ได้อย่างขึ้นใจ อีกส่วนหนึ่งก็ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่ง กว่าจะ “รู้” สูตรคูณได้ต้องอาศัยเวลา ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสที่จะได้ต่อยอดความรู้ไประยะหนึ่ง และที่เป็นผลลบอย่างมากคือ ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ “เสียความรู้สึก” กับคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อคณิตศาสตร์ ว่าเป็นเรื่องยาก

โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้ตระหนักถึงประเด็นปัญหาอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่โรงเรียนฯ ได้ให้ความสำคัญ และดำเนินมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด คือ การสร้างให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน และประสบความสำเร็จในการเรียน

ในกรณีของสูตรคูณนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่โรงเรียนตั้งไว้ โรงเรียนฯ ได้ต่อยอดความคิดจากกระบวนการเรียนรู้มาตรฐานโลกดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และนำมาผนวกสร้างกระบวนการคิดคำนวณ อย่างต่อเนื่องจากการบวกเลขหลักมาถึงการคูณและสูตรคูณ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่โรงเรียนฯ ได้ออกแบบขึ้นนี้ สามารถทำให้นักเรียน “รู้” สูตรคูณอย่างลึกซึ้งด้วยในช่วงปลายปีชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ด้วยความสนุกสนานโดยไม่ต้องใช้วิธีท่องจำ ทำให้เด็กๆ เกิดแรงบันดาลใจและเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การ “รู้” สูตรคูณของเด็กนี้ ครอบคลุมไปถึงความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างการบวกและการคูณ และความหมายของการคูณ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับต่อไป

การเรียนรู้แบบบันไดเวียน (Spiral Learning)

การเรียนรู้แบบบันไดเวียน (Spiral Learning)

การเรียนรู้แบบบันไดเวียน เป็นการจัดการเรียนรู้จากง่ายไปหายากในแต่ละสาระหรือหัวข้อ โดยให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ในทุกหัวข้อในทุกชั้นปี แทนที่จะเรียนจบเป็นเรื่องๆ ในแต่ละปี การจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้สร้างความสำเร็จในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากคณิตศาสตร์แล้ว โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้นำเอาการจัดการเรียนรู้แบบนี้มาใช้กับทุกกลุ่มสาระรายวิชา ผลก็คือนักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง ได้ทบทวนและยกระดับความคิด ความรู้ความเข้าใจ ทักษะและความคล่องแคล่ว ในทุกเรื่อง

แบบฝึกหัดและโจทย์

“งานที่มอบหมายที่ต้องการให้ทำให้เสร็จในห้องเรียนหรือที่บ้านควรจะต้อง ยกระดับความเข้าใจ ทักษะและความคล่องแคล่วด้านคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียน และพึงระมัดระวังให้แน่ใจว่างานที่มอบหมายเป็นส่วนเพิ่มเติมที่มีความหมายของแนวคิดที่สอนในห้องเรียน การคำนวณที่ซ้ำซากหรืองานการบ้านอื่นที่คล้ายกันมักจะยับยั้งความสร้างสรรค์ ความรักในคณิตศาสตร์และความปรารถนาที่จะต่อยอดการเรียนรู้ของนักเรียน งานที่มอบหมายควรที่จะพัฒนาระดับความคิดที่สูงขึ้นโดยจัดโครงสร้างในรูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสได้ประยุกต์ความคิดทางคณิตศาสตร์ที่ได้เรียน”

— Saskatchewan Education, Canada

ด้วยพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้นทำให้ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์มีโอกาสได้ศึกษา และคัดสรรโจทย์ปัญหาจำนวนมากจากแหล่งหลายหลากที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้แล้ว โรงเรียนฯ ยังได้พัฒนาโจทย์ปัญหาเฉพาะด้านเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝน ประยุกต์พื้นฐานความรู้ผนวกกับเทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาต่างลักษณะ แหล่งความรู้สำคัญในการพัฒนาโจทย์ปัญหาของโรงเรียนได้แก่ โจทย์ปัญหาเฉพาะด้านของหลักสูตรประเทศสิงคโปร์ โจทย์ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการคิด Innovative Maths ของ CIMT มหาวิยาลัยพลีมัธและมหาวิทยาลัยเอ็กซีเทอร์ สหราชอาณาจักร และตำราเรียนของสำนักพิมพ์ Harcourt ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้

จากการดำเนินการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น ทำให้นักเรียนในโรงเรียนฯ ทุกคนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามที่โรงเรียนฯ ตั้งเป้าหมายไว้เป็นอย่างดียิ่ง สิ่งที่คุณครูและผู้ปกครองทุกคนเห็นได้ทันทีคือนักเรียนทุกคนมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ มีความตื่นตัว เกิดแรงบันดาลใจ เรียนด้วยความกระหายใคร่รู้ ไม่จำกัดของเขตการเรียนรู้ของตน พัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างธรรมชาติ ในขณะเดียวกันนักเรียนอัตตาภิวัฒน์ทุกรุ่นสามารถทำคะแนนเฉลี่ยในการสอบระดับชาติ (O-net) อย่างโดดเด่น อยู่ระดับดีเยี่ยมมาโดยตลอด

 

อ้างอิง

แม้ว่าการดำเนินการเพื่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมาตรฐานโลก ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ความคิด และทรัพยากรสนับสนุนเป็นอย่างมาก ผลที่เกิดขึ้นดังที่ได้กล่าวในเบื้องต้นนับได้ว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้นด้วยพื้นฐานการเรียนรู้ระดับมาตรฐานโลกที่โรงเรียนฯ พัฒนาขึ้นประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต ยังทำให้โรงเรียนฯ สามารถปรับแต่ง พัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ก้าวทันการจัดการศึกษาคุณภาพทั่วโลกอยู่เสมอ Websites ที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตนับเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญอย่างหนึ่ง เราสามารถค้นหา Websites คุณภาพที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในลักษณะต่างๆ ได้มากมายหลายหลาก แทบจะกล่าวได้ว่าเราน่าจะหารูปแบบการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบเท่าที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น แนวคิด ปรัชญา หลักสูตร แนวทางการจัดการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้ สื่อ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปของ Virtual manipulatives ตัวอย่างแหล่งอ้างอิง Websites เพื่อสืบค้น หรือนำมาใช้พัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก มีดังต่อไปนี้

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับผู้เรียน คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ วัตถุ สิ่งมีชีวิต และสิ่งต่างๆในโลกรอบตัว ซึ่งเป็นโอกาสที่จะทำให้ผู้เรียนได้ค้นพบกับคำตอบของทุกปรากฏการณ์ด้วยตัวเอง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์เข้ากับกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ได้ ผ่านการทดลอง การสร้างแบบจำลอง ผนวกกับการคิดเชิงวิพากษ์ และสร้างสรรค์ นอกจากนั้น การเรียนรู้และเข้าใจวิทยาศาสตร์ยังนำไปสู่การค้นพบว่าวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการสร้างและใช้เทคโนโลยี ซึ่งนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม การแพทย์ รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ ได้ตั้งเป้าหมายและดำเนินการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง โดยมีการจัดทำหลักสูตรเป็นของตนเอง ซึ่งใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นพื้นฐาน และได้นำเอาแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานโลกมาใช้ โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนการสอนของไทย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างสูงสุด ทัดเทียมในระดับโลก ตลอดจนถึงการนำสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายมาใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการทำโจทย์และแบบฝึกหัดที่ครอบคลุมในทุกเนื้อหา การดำเนินการจัดการเรียนรู้ข้างต้น ทางโรงเรียนฯ ได้นำข้อมูล สื่อ จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรักในการเรียนวิทยาศาสตร์ และพัฒนาความสามารถและทักษะทางการเรียนต่อไป

ปัจจัยของมิติการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Factors in Dimensions of Scientific Literacy)

  • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์เข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ผู้เรียนได้สืบเสาะและค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตัวเอง
  • แนวคิดวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ (Key Sciences Concepts) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์ เข้าใจและสามารถนำเอาแนวคิด หลักการ กฎ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้
  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Processes of Science) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำความเข้าใจในสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • ความสัมพันธ์กันระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม (Science-Technology-Society-Environment-Interrelationships) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ทักษะทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิค (Scientific and Technical Skills) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์ได้พัฒนาตนเองให้เกิดทักษะการใช้ร่างกาย สำหรับการปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คุณค่าที่แสดงความเป็นวิทยาศาสตร์ (Values That Underlie Science) บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในวิถีทางที่สอดคล้องกับคุณค่าที่แสดงความเป็นวิทยาศาสตร์
  • ความสนใจและทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ (Science-Related Interests and Attitudes) บุคลลผู้รู้วิทยาศาสตร์ได้พัฒนาตนเองให้มีมุมมองในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นเอกลักษณ์ และสานต่อเพื่อขยายการศึกษาไปตลอดชีวิต

แนวทางการจัดการเรียนการสอน

แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์

แบ่งเนื้อหาบทเรียน เป็นวิทยาศาสตร์แต่ละสาขาอย่างชัดเจน โดยได้แบ่งเนื้อหาบทเรียนวิทยาศาสตร์ออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์โลก และวิทยาศาสตร์กายภาพ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและพัฒนาทักษะ และกระบวนการคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับสูงต่อไป เนื้อหาในการเรียนวิทยาศาสตร์ในแต่ละสาขามีดังต่อไปนี้

เรียนเนื้อหาครอบคลุมทุกเรื่องในแต่ละปีทุกระดับชั้นในลักษณะการเรียนรู้แบบบันไดเวียน

ผู้เรียนวิทยาศาสตร์ในทุกระดับชั้นได้เรียนเนื้อหาวิทยาศาสตร์ในเรื่องเดียวกัน แต่มีการจัดการเรียนรู้จากง่ายไปหายากในแต่ละบทเรียนทุกชั้นปี โดยการจัดการเรียนรู้ในลักษณะนี้มีส่วนในการส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้และความเข้าใจในบทเรียน รวมถึงต่อยอด และยกระดับความรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้นักเรียนได้ใช้ความคิดและทักษะในระดับที่สูงขึ้นเช่นกัน

การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์

การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์

ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์การได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม และการทดลองที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำผู้เรียนไปสู่การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้เรียนวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลายหลาก เพื่อให้นักเรียนได้มีการสืบเสาะหาความรู้ ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีทางวิทยาศาสตร์ ได้ฝึกทักษะการคิดและการทำกิจกรรมกลุ่ม รวมทั้งได้ฝึกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานได้อย่างคล่องแคล่ว

ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์

การสังเกตุและการสำรวจ

การสาธิต

การสร้างแบบจำลอง

การทดลอง

โครงงานวิทยาศาสตร์

สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การใช้สื่อที่ดีและมีความหลากหลายเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เสริมสร้างให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด รวมถึงทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีทางการเรียน สื่อที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์มีความหลายหลากซึ่งถูกนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับบทเรียนในแต่ละเรื่องเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากสื่อในการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด

เอกสารตำราเรียนวิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ ได้ใช้หนังสือและเอกสารการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างหลายหลาก และมีการจัดทำเอกสารตำราเรียนเป็นของโรงเรียนในส่วนของคู่มือปฏิบัติการ และแบบฝึกหัดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียนอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีโจทย์และแบบฝึกหัดเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทำโจทย์หลายรูปแบบ หลากหลายวิธีคิด และแหล่งที่มา

วิทยาศาสตร์บูรณาการสู่เรียนรู้คือความสุข

วิทยาศาสตร์บูรณาการสู่เรียนรู้คือความสุข

ส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียนคือกิจกรรมเรียนรู้คือความสุข โดยได้นำวิทยาศาสตร์มาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า เรียนรู้ด้วยโครงงาน และเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งในแต่ละกิจกรรมได้เชื่อมโยงความรู้ ทักษะกระบวนการ และหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้กลมกลืนสอดคล้องเข้ากับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของกิจกรรมนั้นๆ

กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า

เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวรอบตัวอย่างกว้างขวาง วิทยาศาสตร์ได้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเปิดโลกกว้างให้กับนักเรียนผ่านมุมมอง และเรื่องราวที่แตกต่างไปจากการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยมีครูเป็นผู้นำเสนอและถ่ายทอดผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรักในการเรียนรู้ และกระตุ้นความสนใจในการเรียน

ตัวอย่างกิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า

ในปีการศึกษา 2554 ประจำทุกวันอังคาร นักเรียนจะได้เรียนรู้ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับร่างกายของตนเองผ่านสื่อวีดิทัศน์เรื่อง นิทานชีวิต

กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน

เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมตลอดทั้งปีการศึกษา โดยในทุกปีการศึกษาที่ผ่านมา ได้นำเอาวิทยาศาสตร์มาบูรณาการกับหัวข้อโครงงานอย่างกว้างขวาง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ปีการศึกษา 2551

โครงงานมหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล เรียนรู้ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับท้องทะเล โดยนำเอาวิทยาศาสตร์มาบูรณาการ ในหัวข้อต่อไปนี้

  • โลกแห่งท้องทะเล ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศในท้องทะเล รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพของท้องทะเล ตัวอย่างกิจกรรม เช่น กายวิภาคของสัตว์น้ำห่วงโซ่และสายใยอาหาร แรงดันน้ำ แร่ธาตุในทะเล กลั่นน้ำจีดจากน้ำทะเล ซึ่งนักเรียนจะได้ทำการทดลองและมีชิ้นงานที่จัดทำขึ้นด้วยตนเอง
  • สำหรับในหัวข้ออื่นๆ เช่น แหล่งอาหารจากน้ำ อุตสาหกรรมการประมง อาหารและผลิตภัณฑ์ ทุกหัวข้อนักเรียนจะได้ทำกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับหัวข้อนั้น

ปีการศึกษา 2552

โครงงานมหัศจรรย์พรรณพฤกษา เรียนรู้หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับพืช ในหัวข้อต่อไปนี้ ชนิดและประเภทของพืช ส่วนประกอบและหน้าที่ การเจริญเติบโต การขยายพันธุ์พืช และประโยชน์ของพืช

ตัวอย่างกิจกรรมโครงงานมหัศจรรย์พรรณพฤกษา ได้แก่ สร้างต้นไม้แห่งการจำแนกชนิดของพืช ปลูกพืชเพื่อศึกษาสิ่งจำเป็นที่พืชต้องการ ทดลองขยายพันธุ์พืช ทดสอบแป้งในพืช เส้นใบของพืช การคายน้ำของพืช สัณฐานวิทยาของพืช เป็นต้น กิจกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้น จะมีทั้งรูปแบบของการทดลอง และการสร้างชิ้นงานด้วยตัวนักเรียนเอง

ปีการศึกษา 2554

โครงงานชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม ได้นำวิทยาศาสตร์มาบูรณาการในส่วนของหัวข้อต่อไปนี้คือ ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ ซึ่งนักเรียนจะได้รู้จุดเริ่มต้นของชีวิต การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม หัวข้อต่อมาคือ มหัศจรรย์ร่างกายของเรา นักเรียนจะได้เรียนรู้และทำกิจกรรมเพื่อศึกษาถึงความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ และหัวข้ออร่อยดีมีประโยชน์ ในหัวข้อนี้จะศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งส่งผลอย่างมากกับสุขภาพของมนุษย์ และระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย

ทุกโครงงานและทุกหัวข้อที่นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ และทำกิจกรรม ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงที่นำเอาวิทยาศาสตร์มาบูรณาการ เสริมสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่เดิม และพัฒนาทักษะการคิด และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป

— แหล่งอ้างอิง Website ที่สามารถสืบค้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ภาษาอังกฤษ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

คุณค่าของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้ผู้คนในชาติต่างๆ ใกล้ชิดกัน และติดต่อสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการท่องเที่ยว การดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมอื่นๆ ภาษานับเป็นสื่อกลางสำคัญเพื่อการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ภาษาอังกฤษนับได้ว่าเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเดียวที่สามารถเชื่อมโยงโลกทั้งใบเข้าไว้ด้วยกันอย่างแท้จริง ในขณะที่ภาษาอื่นๆมีความสำคัญในการสื่อสารระดับท้องถิ่นและในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมของชาติ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เราสามารถใช้ได้แทบจะทุกที่ในโลก เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่น อย่างน้อยจะมีคนส่วนหนึ่งที่เข้าใจภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้แล้ว ในยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้ อินเตอร์เนตนับเป็นแหล่งความรู้สำคัญ เป็นหน้าต่างที่ช่วยเราในการสืบค้น ศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางอย่างไม่มีขีดจำกัด ทั้งนี้ภาษาอังกฤษก็ยังคงเป็นภาษาหลักในการใช้งานอินเทอร์เนต กล่าวได้ว่าเราสามารถหาข้อมูลทุกอย่างได้จากเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษจึงนับเป็นสื่อกลางสำคัญเพื่อให้เข้าถึงคลังความรู้ขนาดใหญ่ของโลกได้

แนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์

โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์จัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองในการนำเอาภาษาอังกฤษไปใช้งาน ให้นักเรียนเกิดความรักและกระหายใคร่รู้ มีความสุขกับ การอ่าน เขียน ฟังและพูดภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปต่อยอดใช้ในชีวิตประจำวัน และการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นในโรงเรียนทั้งในและต่างประเทศ

การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ ได้ใช้ข้อกำหนด และมาตรฐานในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยอาศัยแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติ (English as a Foreign Language : EFL) ในหลักสูตรมาตรฐานโลกเป็นแกนหลักในการพัฒนาเป็นหลักสูตรของโรงเรียน การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยทีมคณะครูกลุ่มสาระภาษาอังกฤษที่มีทั้งครูไทยและครูต่างประเทศเจ้าของภาษา จะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 และพัฒนาอย่างต่อเนื่องถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การดำเนินการจัดการเรียนรู้

การดำเนินการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมของกลุ่มครูประจำสาระทั้งครูไทยและครูต่างชาติเจ้าของภาษา เพื่อสอดประสานจุดเด่นของคุณครูแต่ละท่านในการพัฒนานักเรียนสู่เป้าหมายของโรงเรียนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมดีที่สุด บทเรียนภาษาอังกฤษของโรงเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของการใช้ธีม (Theme) ซึ่งทำให้นักเรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายที่ใช้ในชีวิตจริงของประโยคหรือรูปไวยากรณ์ในแต่ละลักษณะ เพื่อนำมาสู่หลักภาษาของรูปประโยคนั้นๆ ในขณะที่นักเรียนจะมีโอกาสได้ทำกิจกรรมเพื่อฝึกฟังและฝึกพูดกับคุณครูต่างชาติเจ้าของภาษา

สมาชิกของกลุ่มสาระภาษาอังกฤษจะทำงานประสานกันอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ขั้นวางแผนจนถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างวันที่ดำเนินการเรียนการสอน โดยที่คุณครูไทยจะรับผิดชอบในด้านหลักภาษา ซึ่งครอบคลุมถึง หลักการออกสียง (phonics) หลักไวยากรณ์ (grammar and structure) หลักการเขียน (writing) ตลอดจนถึงหลักการอ่านเพื่อสร้างความเข้าใจ (reading and comprehension) ในขณะที่ครูต่างชาติเจ้าของภาษาจะรับผิดชอบในด้านการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด

ถึงแม้ว่าจะได้มีการแบ่งขอบเขตความรับผิดชอบอย่างเด่นชัด สมาชิกในกลุ่มสาระภาษาอังกฤษทุกท่านต่างเห็นและตระหนักถึงคุณค่าในการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างดีที่สุดให้กับนักเรียนทุกคน ในการดำเนินการเรียนการสอนนั้น คณะครูไทยและครูต่างชาติจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอยู่เสมอ เพราะคุณครูทุกท่านทราบดีว่าบ่อยครั้งที่ ในขอบเขตความรับผิดชอบของตนนั้นคาบเกี่ยวกับสมาชิกครูท่านอื่น ตัวอย่างเช่น นักเรียนจะฝึกการฟังและการพูดกับครูต่างชาติได้ดีโดยอาศัยพื้นฐานหลักการออกเสียง (phonics) ที่ได้เรียนรู้มาจากคุณครูไทย ในทำนองเดียวกันการฝึกพูดหรือฟังนั้นก็จำต้องอาศัยคำศัพท์ (vocabulary) ซึ่งได้เรียนรู้จากคุณครูไทยและ/หรือได้รับการต่อยอดเพิ่มเติมจากครูต่างชาติ และต้องอาศัยหลักไวยากรณ์เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังหรือพูด ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น มีความสอดคล้องกัน และก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้อย่างดีที่สุด บทเรียนของคุณครูไทยและครูต่างชาตินั้นจะใช้ธีมเดียวกันคู่ขนานกันไป

โครงสร้างและลำดับการจัดการเรียนรู้ (ประถมศึกษาปีที่ 1)

โครงสร้างและลำดับการจัดการเรียนรู้

หัวข้อเรื่องและประโยคที่ใช้ในแต่ละธีม (Theme) สำหรับบทเรียนในแต่ละช้ันตั้งแต่อนุบาล 1 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ถูกจัดเรียงลำดับเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จากง่ายและสลับซับซ้อนขึ้นไปตามลำดับ และให้มีความสอดคล้องกับลำดับการเรียนรู้ไวยากรณ์ โครงสร้างของธีมในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเป็นดังนี้

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

THEME

Words

Grammar

1. What’s this?

School things

What’s this?

It’s a pen.

2. Playtime!

Toys

my / your

Is this your teddy?

Yes, it is.

No, it isn’t.

3. This is my nose!

My body

arm / arms

This is ... 

These are ...

4. He’s a hero!

Jobs

She’s / He’s a teacher.

Is she / he a teacher.

Yes, she is.

No, he isn’t.

5. Where’s the ball?

The park

Where’s the ball?

in / on / under

6. Billy’s Teddy

My family

Possessive (’s)

7. Are these his trousers?

My clothes

This is her / his T-shirt.

Are these his socks?

Yes, they are.

No, they aren’t.

8. Where’s Grandma?

My house

Is she in the kitchen?

Yes, she is. No, she isn’t.

Where are dad and Billy?

Are they in the garden?

No, they aren’t.

9. Lunchtime!

My lunch box

I’ve got two sandwiches.

I haven’t got my lunch box.

an apple (an + a, e, i, o, u)

10. A new friend!

My friends

He / She’s got ...

He / She hasn’t got ...

It’s got ...

It hasn’t got ...

11. I like monkeys!

The zoo

I like monkeys.

I don’t like elephants.

They’re big.

I’m little.

12. Dinnertime!

Food / Drinks

Do you like carrots?

Yes, I do. No, I don’t.

What do you like?

I like yogurt.

13. Tidy up!

My bedroom

There’s ...

There are ...

14. Action Boy can run!

Verbs

He can / can’t fly.

Can he talk?

Yes, he can. No, he can’t.

15. Let’s play ball!

The beach

Let’s + verb

 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

THEME

Words

Grammar

1. Our new things

School things

This / That is ...

These / Those are ...

2. They’re happy now!

Feelings

We’re / They’re

Are they ...?

3. I can ride a bike!

Outdoor activities

She can / can’t ...

Can he ...?

 

Prepositions of Place

4. Have you got a milkshake?

Food

Have you got ...?

I have / haven’t ...

Has he got ...?

He has / hasn’t ...

5. We’ve got English!

School subjects

School rooms

What / When have we got ...?

We’ve got ...

our / their

6. Let’s play after school!

After-school activities

I visit ...

I don’t have ...

7. Let’s buy presents!

Special days

What does he like?

He likes / doesn’t like ...

8. What’s the time?

Everyday activities

Times of the day

What’s the time?

It’s ... o’clock.

He ... at ... o’clock.

9. Where does she work?

Places

Where does he work?

He works in a ...

Does she work in a ...?

10. It’s hot today!

Weather

Weather activities

What’s the weather like?

it’s ...

Put on / Don’t put on ...

11. What are you wearing?

Clothes

Time

Present continuous :

What are you wearing?

What’s he wearing?

I’m / He’s wearing ...

12. You’re sleeping!

Celebrations

Getting ready

Present continuous :

What are you / they doing?

I’m / We’re / They’re ...

What’s he / she doing?

He’s / She’s ...

13. Look at all the animals!

Farm animals

Adjectives

Comparatives :

This cow is bigger than that 

cow.

14. Look at the photos!

Memories

Tidying up

Past simple :

I was / wasn’t ...

You were / weren’t ...

15. Well done!

People

Ordinal numbers

Past simple :

There were some / weren’t 

any ...

Irregular plurals

 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

THEME

Words

Grammar

1. They’re from Australia!

Countries

Seasons

Home

Present simple: be

Where are you from?

I’m from Egypt.

2. My weekend

Hobbies

like + verb + ing

I like reading.

I don’t like fishing.

Does he like playing chess?

Yes, he does.

No, he doesn’t.

3. My things

My things

phrasal verbs

Collections

your / our / their

That’s their CD player.

Can for permission / requests

Can I use your computer?

Yes, you can. / No, you can’t.

4. We’re having fun at the beach!

Water sports

Adjectives to describe places

Present continuous:

affirmative and negative

I’m swimming.

She isn’t snorkeling.

5. A naughty monkey!

Zoo animals

Adjective to describe 

emotions and things

Present continuous:

questions and short answers

Is the crocodile eating the 

sandwich?

Yes, it is. / No, it isn’t.

6. Jim’s day

Daily routine

Time words

Present simple: 

affirmative. negative and 

questions

I have breakfast at eight 

o’clock.

Do they live in a big house?

Yes, they do./ No, they 

don’t.

7. Places to go!

Places in town

Performances

Present simple and adverbs 

of frequency: always, 

sometimes, never

I sometimes go to the 

library.

 

Prepositions of time

My birthday is in May.

8. I’d like a melon!

Food

Countable and uncountable

nouns

a / an / some

I’d like a melon.

Would you like some cereal?

Yes, please. / No, thanks.

9. What’s the fastest animal in the world?

Describing places

Comparative adjectives

Russia is bigger than the UK.

Superlative adjectives

The highest mountain in the 

world is Mount Everest.

10. In the park!

In the park

Verbs

must / mustn’t for rules and 

obligations

You must turn off your 

mobile phone.

You mustn’t walk on the 

grass

11. In the museum

Transport

Prepositions

Past simple with be: 

affirmative and negative

There was / wasn’t a park

in our town fifty years ago.

 

lots of, some, any

There were / weren’t some

trains a hundred years ago.

 

Time words and phrases

12. A clever baby!

Adjectives to describe

People

Past simple with be and have

affirmative and negative

I wasn’t tall when I was five.

You were happy on holiday. 

I had a maths lesson last 

week.

13. The Ancient Egyptians

Verbs

Adjectives to describe things

Past simple with regular 

verbs

affirmative and negative

They lived 5,000 years ago.

They didn’t cook pizza.

14. Did you have a good day at school?

School things

Camping things

Past simple questions

Did you have a good day?

Yes, I did. / No, I didn’t.

Wh- questions: what / when / 

where

What did you watch last 

night? A film.

15. Our holiday!

Holiday things

Time words

be going to + verb

He’s going to play basketball

tomorrow.

Are you going to swim in 

the sea?

Yes, I am. / No, I’m not.

 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

THEME

Words

Grammar

1. The food here is great!

The restaurant

 

Words in context:

breakfast time

Present simple and 

present continuous

They usually wears blue

uniforms. They’re wearing

white today.

 

Time markers: present 

simple and continuous

 

2. We had a concert

The concert

 

Words in context:

‘Festival Day’

Past simple: have and be

All our friends were there.

Past simple: regular verbs

The audience clapped.

Time markers: past simple

 

3. The dinosaur museum

The dinosaur museum

 

Words in context:

dinosaur data

Past simple: irregular verbs

with negatives

we didn’t go to school.

Past simple: irregular verbs

with questions

Did they go to a museum?

What did you see?

 

4. Whose jacket is this?

Sports time

 

Words in context:

basketball

Possessive pronouns

Whose jackets is it?

It’s mine / yours / his / hers /

its / ours / theirs.

Adverbs: +ly and irregular

He ran slowly. He played well.

5. Go back to the roundabout

Directions

 

Words in context:

shadow puppets

have to / had to

We have to go back to the

roundabout.

Giving directions

Go straight on at the 

roundabout.

why / because

Why are we at this petrol

station? Because ...

6. The best bed!

Describing words

 

Words in context:

‘The Ant and the 

Grasshopper’

Comparatives and

superlatives: long adjectives

My bed is more comfortable

than this one.

Irregular comparatives and 

superlatives

better than / worse than / 

the best / the worst

7. Will it really happen?

In space

 

Words in context:

Life in 100 years’ time

The future with will

People will travel in super-

fast planes.

Will they go back to England?

Time markers: the future

8. How much time have we got?

At the airport

 

Words in context:

My holiday

Expressing quantity

How much time have we got?

We haven’t got much money.

some / any

Have you got any 

newspaper?

9. Something new to watch!

Audio-visual entertainment

 

Words in context:

TV programmes

Infinitive of purpose

I turned on the TV to watch

sports.

We went in the boat to see

the dolphins.

How often ...?

I watch TV once/twice 

a week.

10. I’ve printed my homework

Computers

 

Words in context:

sending emails

Present perfect: affirmative

He’s put the books on the

shelves.

Present perfect: questions,

answers and negatives

Have you seen my new

speakers?

Yes, I have./ No, I haven’t.

 

11. Have you ever been ...?

Places

 

Words in context:

The Amazing Escape

Present perfect: ever

Have you ever been to space?

Yes, I have./ No, I haven’t.

Present perfect: never

We’ve never fallen in the

mountains.

 

12. What’s the matter?

Illness

 

Words in context:

how to stay healthy

should / shouldn’t 

You should drink some water.

You shouldn’t eat lots of

cake.

could / couldn’t

Max couldn’t eat his dinner.

But he could eat lots of 

cakes.

13. Can you help me?

Making smoothies

 

Words in context:

child heroes

Object pronouns

me / you / him / her / it / us / 

them

Relative pronouns

This is the boy who didn’t 

put the lid on.

This is the smoothie which

was in the blender.

14. We were fishing

Family

 

Words in context:

‘My relatives are coming!’

Past continuous

What were you doing?

I was looking at photos.

Dates and I was born ...

My mum was born in 1981.

15. Good news, bad news

Jobs

 

Words in context:

‘Three wishes’

Past simple and past

continuous

When I was working, the

phone rang.

Grammar homophones:

there / they’re / their

There is good news.

 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

THEME

Words

Grammar

1. You can build it!

Tools

 

subject verb object

adjectives and adverbs

 

My tree house

Present perfect: ever / never

Have you ever cleaned

a kitchen?

I’ve never made a cake.

 

Present perfect: for / since

Ben has had woodwork

lessons since he was eight.

He’s worked on this wooden

table for two weeks.

2. It’s show time!

Putting on a play

 

The Crown Diamond

 

Past simple and present 

perfect

It was great!

I’ve tidied up all the leaves.

 

already / yet / before / just

I’ve already built the set.

I haven’t learnt the script yet.

I haven’t been in a play

before.

Karen has just finished the

costumes.

3. The best party ever!

Household items

 

Lost at the carnival

Comparatives and 

superlatives

as ... as ...

It’s as colourful as the 

carnival in Rio.

not as ... as ...

It’s not as big as the carnival

in Rio.

too / enough

It’s too dark now.

There’s not enough light in

here.

4. Our planet

The environment

 

An eco home

Past simple and past

continuous: interrupted

actions

Some children were playing

when we arrived.

 

Used to

There used to be lots of 

litter here.

5. Reuse and recycle

Recycling

 

As good as new

Will / won’t

Now Chip will know how to

do everything and he won’t

make mistakes.

 

Present continuous with

future meaning

We’re leaving at two o’clock.

6. Crazy about wildlife!

At the wildlife park

 

Gorilla Kingdom

Going to: future plans and

intentions

My class is going to adopt

a tiger.

Going to: predictings

It’s going to fall.

7. Call an ambulance!

First aid

 

A day in the life of a 

firefighter

Reported speech

He said he needed some bandages.

said / told

Our teacher told us she had

a surprise for us.

She said we were going to

learn first aid.

Reported speech: 

time markers

8. Let’s eat healthily

Food

 

The healthy eating pyramid

First conditional

If I press this button, the 

machine will make a pizza.

 

First conditional questions

Will I get ill if I don’t eat fruit

and vegetables?

9. The big match

Sport

 

Antonyms

 

Just breathe

Modal verbs: may, might and

could

I might need to do more

work on those boots.

 

have to / had to statements

and questions

Do you have to exercise

every day?

We had to tidy our bedrooms

before we could go out to

play yesterday.

10. Ancient buildings

Archaeology

 

The lost city

Indefinite pronouns

There are machines 

everywhere.

There is something wrong

with all my inventions.

Is there anything wrong?

 

Question tags

These necklaces are

beautiful, aren’t they?

 

11. A message for the future

A time capsule

 

Homonyms

 

A kid in King Arthur’s Court

The passive (present simple)

English is spoken in many

different countries.

 

Passive and active

People in costumes greet

visitors.

Visitors are greeted by

people in costumes.

12. Be a part of history!

The news

 

Adjectives with -ing

 

Who deserves a high salary?

The passive (past simple)

You were invented to cook

and clean.

 

Passive question

Is English spoken in the 

USA?

Who was the telephone

invented by?

 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

THEME

Words

Grammar

1. Art project?

Describing art

 

Prefixes un- / im-

 

Island Adventure

Going to and will

I’m going to visit an art

gallery this afternoon.

I’ll come with you.

 

Present continuous with 

future meaning

We’re meeting at 10 o’clock.

2. Sports adventures!

Extreme sports

 

Prefixes dis- / in-

 

Tanya Streeter

First conditional and first

conditional questions

If the weather is good, we’ll

go paragliding.

Will you come for a walk if

the weather is good?

 

Second conditional

If I had a camera, I’d take

a picture.

3. It’s festival time!

Festival adjectives

 

suffix -ous

 

Top Ten Food Festivals

Present perfect: for / since /

already / just / yet / before

I’ve been here since 9 o’clock

/ for five days.

The procession has already

/ just finished.

I haven’t seen any fireworks

yet.

I’ve never eaten anything

so delicious before.

 

Past simple and present

perfect

I went to that festival last

year.

I’ve made my costume.

  1. Transport of the future!

Forms of transport

 

Phrasal verbs

 

Transport around the world

Present perfect continuous 1

Passengers have been

waiting for five hours.

 

Time markers

for / since / all morning /

all day / all week

 

Present perfect continuous 2

I’m tired because I’ve been

working.

What have you been doing?

Have you been swimming?

5. The greatest inventions!

Inventions

 

Suffix -ment

 

The History of the Pen

The passive (present simple

and past simple)

Many kinds of chewing gum

are made.

The gum wasn’t advertised.

 

The passive (present

continuous)

My computer is being

repaired at the moment.

6. You’ve won a computer!

Computer verbs

 

Homonyms

 

Computers - Fun Facts

The passive (future)

You will be given ten new

laptops.

 

The passive (present perfect)

There wires have been

disconnected.

7. Explorers for a day!

Exploring

 

Suffixes -er / -ist

 

Famous Shipwrecks

Relative pronouns: who,

which

There are many climbers

who successfully climb

Mount Everest.

They climb a mountain there

which is the highest

mountain in the world.

 

Reported pronouns: that

He met a man that was more

than 120 years old.

8. It’s a mystery!

Mystery

 

Suffix -able

 

The Nazca Lines

Past perfect

After they had climbed onto

the ship, they saw there was

on one there.

 

Past perfect questions and

negative sentences

Had people invented truck

and trains before they built

the Pyramids?

They hadn’t invented trucks

and trains before they built

the Pyramids.

9. Survival!

Survival items

 

Homophones

 

Robinson Crusoe

Third conditional

If the machine had worked,

he would have been happy.

 

Modal verbs: have to, must,

should and ought to

You have to bring a water 

bottle.

You mustn’t leave the group.

You shouldn’t bring valuable

possessions.

You ought to bring a camera.

10. Around the world!

World languages

 

Suffix -ery

 

Languages of the world

Reported speech (all tenses)

 

Reflexive pronouns: myself,

yourself, itself, himself, 

herself, ourselves, yourselves

and themselves

11. Space travel!

Space

 

Phrasal verbs

 

Dreaming in a spaceship

Reported speech: Wh- 

questions Where, Why, What,

Who and When

He asked him where he was.

 

Reported speech: commands

and requests told / asked

He told us to turn off our

mobile phones.

He asked them to leave 

quietly.

12. Holiday time!

Holiday adjectives

 

My year around the world

wish

 

Question tags

 

การเรียนรู้แบบบูรณาการ

นอกจากนั้น ในหลักสูตรของโรงเรียนมีการนำภาษาอังกฤษไปบูรณาการร่วมกับสาระการเรียนรู้อื่นๆอีก เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา คอมพิวเตอร์ และศิลปะ โดยนักเรียนจะได้รู้จักคำศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่หลากหลายของสาระต่างๆ

ในแต่ละปี นักเรียนจะมีการเรียนวิชาโครงงาน ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามสาระ โดยจะมีการกำหนดธีมของโรงเรียน เช่น มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล มหัศจรรย์พรรณพฤกษา มหัศจรรย์โลกใบเล็ก ในโครงงานจะมีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย โดยทุกๆปี นักเรียนจะกระตือรือล้น ตื่นเต้นกับการเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆที่น่าสนใจ ซึ่งภาษาอังกฤษก็จะประกอบเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น

และที่สำคัญ ในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนจะจัดให้มีกิจกรรม Read to Learn ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะได้เรียนรู้การอ่านเพื่อพัฒนาทักษะในการอ่านเพื่อการเรียนรู้ด้านต่างๆ ดังนี้

  • Fiction & Nonfiction
  • Main Idea & Details
  • Sequence
  • Compare and Contrast
  • Summarize
  • Draw Conclusions
  • Cause and Effect
  • Problems and Solutions

โดยนักเรียนจะเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมกับ บทความ หนังสือ ที่หลากหลายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างให้นักเรียนเกิดทักษะในการอ่านเพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาเพื่อเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับสังคมปัจจุบันที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

ผลสำเร็จของนักเรียนรุ่นที่ผ่านๆมาเป็นความภาคภูมิใจหนึ่งของโรงเรียนฯ โดยนักเรียนโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์สามารถทำคะแนนการสอบวัดระดับ O-Net ได้เป็นที่หนึ่งของจังหวัดมาโดยตลอด นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลจากการแข่งขันภาษาอังกฤษในเวทีต่างๆอยู่เสมอ ทั้งยังมีความพร้อมในการเรียนต่อในระดับมัธยม โดยนักเรียนมักผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมชื่อดัง และมีผลการเรียนที่น่าชื่นชม

นอกเหนือไปจากความสำเร็จด้านวิชาการแล้ว นักเรียนยังแสดงให้เห็นถึงทักษะการใช้ภาษาในชีวิตจริง โดยเห็นได้จากตัวอย่างนักเรียนที่ได้ไปเรียนและทัศนศึกษาภาคฤดูร้อนกับโรงเรียนที่ประเทศสิงคโปร์ นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น การสั่งอาหาร การซื้อสินค้า และการเดินทาง รวมไปถึงการทำความเข้าใจกับภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น สวนสัตว์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์

ภาษาไทย

ภาษาไทย

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ จัดการเรียนรู้โดยเน้นความสำคัญของภาษาในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร แสวงหาความรู้ และประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ อย่างมีสุนทรียภาพ การเรียนรู้ด้านภาษาไทยของโรงเรียนจึงให้น้ำหนักและความสำคัญในส่วนของการอ่านและการพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบให้กับนักเรียน

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์

1. ความครบถ้วนของเนื้อหา

โรงเรียนได้ออกแบบจัดทำหลักสูตรภาษาไทยเป็นของตนเอง โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นพื้นฐาน มีการนำเอาเอกสารตำราเรียน ภาษาพาที และ วรรณคดีลำนำ ตามข้อกำหนดของกระทรวงฯมาให้นักเรียนได้ใช้เรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อความครบถ้วนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานและการพัฒนาความสามารถด้าน คำศัพท์ ให้แก่นักเรียน

การสะสมคำศัพท์

ในส่วนของ คำศัพท์ โรงเรียนกำหนดให้นักเรียนใช้ แบบฝึกทักษะการเขียนและการสะกดคำ ของศูนย์ส่งเสริมวิชาการ เนื่องจากพิจารณาแล้วพบว่า มีการรวบรวมคำศัพท์จากหนังสือ ภาษาพาที และ วรรณคดีลำนำ ซึ่งเป็นหนังสือเรียนภาษาไทยที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ ไว้เป็นจำนวนมาก และยังมีแบบฝึกหัดที่เหมาะสมสำหรับการฝึกเขียนคำอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ โรงเรียนได้กำหนดให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวพื้นฐานจากหนังสือเรียนภาษาพาทีและวรรณคดีลำนำของกระทรวงศึกษาธิการด้วยเช่นเดียวกัน

หลักและการใช้ภาษา

โรงเรียนมีแบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนด้านหลักภาษาโดยตรง รวมทั้งแบบฝึกหัดการใช้ภาษา และ แบบฝึกการเขียน ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดทำขึ้นเองจากหลักสูตรของโรงเรียนผนวกกับการวิจัยค้นคว้ารวบรวมจากหนังสือทุกสำนักพิมพ์ที่มีขายอยู่ในร้านหนังสือในปัจจุบัน จึงมั่นใจได้ว่า เนื้อหาหลักและการใช้ภาษาของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ไม่เพียงแต่จะสอดคล้องกับหลักสูตรภาคบังคับของกระทรวงฯ แต่ยังมีความครอบคลุมในเนื้อหา (แนวกว้าง) ที่มากกว่าและลึกซึ้งในรายละเอียด (แนวลึก) มากกว่า

วรรณคดีและวรรณกรรมไทย

โรงเรียนตระหนักดีถึงคุณค่าและอรรถรสทางสุนทรียภาพที่นักเรียนควรจะได้รับจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยในแต่ละชั้นปีนักเรียนไม่ควรถูกจำกัดประสบการณ์การเรียนรู้อยู่แต่เพียงวรรณกรรมหรือวรรณคดีไทยเพียงเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ควรที่จะได้มีโอกาสรับรู้และสัมผัสคุณค่าในส่วนนี้อย่างกว้างขวาง โรงเรียนจึงได้จัดทำหนังสือ “กานท์กวี” เพื่อรวบรวมบทกวีและคำประพันธ์ตามบทบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนบทร้อยกรองที่มีคุณค่าทางวรรณกรรมซึ่งมีความงดงามทางภาษาและฉันทลักษณ์ มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกอ่านและฝึกท่อง เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสุนทรียภาพทางภาษา และเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยและวรรณคดีไทยไปพร้อมๆกัน

 

การใช้ห้องสมุด

โรงเรียนได้จัดกิจกรรม หนอนน้อยนักอ่าน โดยความร่วมมือกับ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ชวนน้องอ่าน (The Pizza Company Book Club) เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและเห็นคุณค่าของหนังสือ และมีกิจกรรมฝึกให้นักเรียนเขียนบันทึกจากการอ่าน โดยมีพิซซ่าแจกฟรีและเกียรติบัตรเพื่อเป็นกำลังให้แก่นักเรียนที่สามารถอ่านหนังสือได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้ โรงเรียนได้ให้การสนับสนุนในการจัดหาหนังสือใหม่ๆที่มีคุณค่าน่าอ่านและเหมาะสำหรับนักเรียนจำนวนหลายพันเล่มจัดไว้ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุดอย่างต่อเนื่องทุกปี

ขอบเขตการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย

ขอบเขตการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์

2. ให้ความสำคัญกับการอ่านในฐานะเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้

การอ่านจัดเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนได้จัดทำเอกสารตำราเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนในชื่อ หนังสือเรียน “เพลินภาษา” บทเรียนบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

หนังสือนี้เป็นผลมาจากการที่โรงเรียนได้พยายามสืบเสาะค้นหาแนวทางที่จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านภาษาและการคิดให้กับตัวนักเรียน โดยได้แปลและเรียบเรียงจาก “Best Practices in Reading” Level A ของสำนักพิมพ์ Options Publishing Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา และ “Keep on Reading!” Level B–F ของสำนักพิมพ์ Peoples Publishing Group ประเทศสหรัฐอเมริกา

หนังสือเพลินภาษานี้ใช้ฝึกทักษะทางภาษาให้แก่นักเรียนโดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลายหลากและมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ (Interactive) อย่างต่อเนื่องระหว่างครูและนักเรียน และระหว่างตัวนักเรียนเองอยู่ตลอดเวลา ช่วยฝึกฝนนักเรียนทั้งด้านการอ่านและการคิดไปพร้อมๆกัน โดยผ่านเรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งเรื่องแนว Fiction/Non-fiction , Science , Social Studies และ Math ในลักษณะรูปแบบของ Theme เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงการเชื่อมโยง

บทเรียนเหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของนักเรียนในด้านต่างๆ ได้แก่ การหาความคิดหลักและรายละเอียดของเรื่อง (Main idea and Details) การจัดลำดับเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ (Sequence) การเปรียบเทียบและการแยกแยะความแตกต่าง (Compare and Contrast) การหาข้อสรุปของเรื่อง (Summarize) การลงความเห็น (Make inferences) ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น (Fact and Opinion) มูลเหตุและผลลัพธ์ (Cause and Effect) ปัญหาและคำตอบ (Problem and Solutions) และบทสรุป โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เริ่มต้นจากการฝึกทักษะการอ่านหรือการฟัง นำไปสู่การฝึกคิด มีการทำแบบทดสอบความเข้าใจจากการอ่าน ฝึกการจัดระบบความคิด ฝึกการสรุปเรื่องราว และฝึกทักษะการเขียน ทั้งรายบุคคลและเป็นทีม

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา หนังสือชุดนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของตำราเรียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา ในปัจจุบันครูผู้สอนยังได้ยกระดับการเรียนรู้ให้สูงขึ้นไปอีกโดยการสร้างเสริมด้วยแหล่งเรียนรู้ในอินเทอร์เน็ต โดยนำมาประกอบกระบวนการเรียนรู้ด้วยสื่อทัศนูปกรณ์ในด้านการนำเสนอด้วยรูปภาพ ผลสะท้อนจากการนำหนังสือชุดนี้มาใช้พบว่า สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนได้อย่างดีเยี่ยม

หนังสือเพลินภาษา

หนังสือ “เพลินภาษา” ถูกจัดเป็นธีม โดยที่แต่ละธีมถูกออกแบบเพื่อพัฒนาทักษะแต่ละด้านและประกอบด้วยบทเรียนย่อยในต่างๆ ลักษณะ ได้แก่ เรื่องเล่า เรื่องเล่าเค้าโครงความจริง เรื่องด้านวิทยาศาสตร์ เรื่องด้านสังคมศึกษา เรื่องด้านคณิตศาสตร์ และบททั่วไป ของธีมนั้นๆ

สรุปรายการเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมเพลินภาษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ทักษะการอ่าน บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 บทที่ 6 บทที่ 7
เรื่องเล่า บ้านสี บ่อน้ำหายไปไหน วิลลี่กับถุงมือเบสบอล แมลงเต่าทอง มีจุดสีดำได้อย่างไร วอลรัสอารมณ์บูด แข่งว่าว สัตว์เลี้ยง ของห้องเรียน
เรื่องเค้าโครงความจริง สี น้ำทุกหนแห่ง ที่พำนักสัตว์ แมลงและแมงมุมที่ช่วยดูแลสวน นากทะเล วันพิเศษทั่วโลก บ้านในขวดโหล

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6

ทักษะการอ่าน Theme สำหรับการเรียนรู้
ป. 2 ป. 3 ป. 4 ป. 5 ป. 6
แยกแยะเรื่องเล่าจาก เรื่องเค้าโครงความจริง ดวงจันทร์ - - - -
ความคิดหลักและรายละเอียด รถแทรกเตอร์ ชีวิตในทะเล ชีวิตในทะเลทราย ชีวิตป่า สะวันนา
การจัดลำดับ ข้าวโพด ป่าเร็ดวู้ด การไต่เขา การเปลี่ยนรูปแบบ เงิน เงิน ทอง ทอง
การเปรียบเทียบและ การแสดงความแตกต่าง แมลง บ้านอัจฉริยะ ถ้ำ การขับเคลื่อนประชากร หน้าที่การงาน
บทสรุป จีน ยอดกีฬา สิ่งประดิษฐ์ การสื่อสารของสัตว์ หินจากอวกาศ
การหาข้อสรุป / การลงความเห็น ม้า ความลี้ลับของไดโนเสาร์ การสำรวจดาวอังคาร ชีวิตในอาณานิคม โลกลี้ลับ
ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น แม่น้ำ เฮอร์ริเคน ทอร์นาโด แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ
ปัญหาและคำตอบ สัตว์เลี้ยง ขยะล้นเมือง สุนัขงาน สำรวจใต้น้ำ สะพาน

 

กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน

นอกเหนือจากกิจกรรมการอ่านเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว นักเรียนยังได้มีโอกาสฝึกเขียนฝึกคิด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านด้วยกิจกรรมท้าทายและน่าสนใจที่หลายหลาก

กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน

ทักษะการอ่าน กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
แยกแยะเรื่องเล่า
จากเรื่องเค้าโครงความจริง
  • เขียนไปรษณียบัตร
  • เขียนรายงาน
  • เขียนข้อเท็จจริง
  • เขียนบันทึกประจำวัน
  • ออกบัตรเชิญ
  • เขียนเรื่องสั้น
  • เขียนจดหมาย
  • เขียนเปรียบเทียบ
  • เขียนบันทึกเหตุการณ์
  • ทำโปสเตอร์
  • กรอกผังแผนที่เรื่อง
  • ทำปฏิทิน
ความคิดหลักและรายละเอียด
  • กรอกผังความคิด
  • เขียนคำโฆษณา
  • เขียนจดหมาย
  • ออกแบบ+เขียนบรรยาย
  • เขียนโทรเลข
  • เขียนบรรยายภาพ
  • เขียนสรุป
  • เขียนเว็บไซต์
  • เขียนเล่าประสบการณ์
  • ตั้งชื่อเรื่อง
  • เขียนบรรยายในอัลบั้มภาพ
  • เขียนเหตุผล
  • วาดภาพเพื่อสรุป
  • เขียนคำกล่าว
  • เขียนบทความ
  • ทำโฆษณาทีวี
  • เขียนรายการ
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนสิ่งที่น่าสนใจ
  • เขียนแนวคิด
  • เขียนบันทึกชีวิตประจำวัน
  • แต่ตอนจบของเรื่อง
  • วิจัยหาข้อมูล
  • เขียนรายงานข่าว
  • เขียนรายละเอียด
  • ทำกราฟแท่ง/วงกลม/เส้นตรง
  • ตั้งคำถาม
  • เขียนโปสเตอร์ภาพยนต์
  • เขียนโน๊ต
  • เขียนโบรชัวร์
  • เขียนบันทึก
การจัดลำดับ
  • กรอกผังลำดับเหตุการณ์
  • เขียนความคิดหลัก
  • เขียนรายงาน
  • เขียนสูตรอาหารและวิธีทำ
  • เขียนขั้นตอนการปฏิบัติ
  • กรอก/ทำผังตาราง
  • เขียนบันทึกเหตุการณ์
  • เขียนเรื่องจากจินตนาการ
  • เขียนแผนการทำงาน
  • เขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์
  • เขียนลำดับขั้นตอนการทำอาหาร/การประดิษฐ์
  • เขียนเล่าประสบการณ์
  • เขียนบรรยายแผนที่การเดินทาง
  • ตั้งชื่อเรื่อง
  • เขียนวิธีทำ
  • ทำกราฟแท่ง
  • วางแผน + วาดภาพ
  • เขียนเล่าเรื่อง
  • เขียนรายการ
  • เขียนจดหมาย
  • เขียนคำโฆษณา
  • เขียนแผนที่ตาราง
  • เขียนสรุปเหตุการณ์
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • เขียนแนวคิดและทัศนคติ
  • เขียนลำดับเหตุการณ์
  • กรอก/ทำเส้นเวลา
  • เขียนไปรษณียบัตร
  • เขียนคำบรรยายในอัลบั้มภาพ
  • เขียนบรรยายสิ่งที่ได้เรียนรู้
  • เขียนบรรยายแผนที่เดินทาง
  • เขียนคำโฆษณา
  • ทำละครสั้น
  • ทำกราฟวงกลม
การเรปรียบเทียบและการแสดงความแตกต่าง
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนเปรียบเทียบ
  • เขียนบรรยายประสบการณ์
  • เขียนย่อหน้าแรกของข่าว
  • เขียนอธิบายวิธีการ
  • ทำผังการจัดอันดับ
  • เขียนรายงาน
  • เขียนโปสการ์ด
  • เขียนสรุปการกระทำ
  • ตั้งชื่อเรื่อง
  • เขียนป้ายในพิพิทธภัณฑ์
  • เขียนเล่าจากจินตนาการ
  • เขียนรายละเอียด
  • กรอกผังเปรียบเทียบ
  • เขียนแผนงาน
  • เขียนเรื่องจากจินตนาการ
  • เขียนบรรยาย
  • วาดภาพแสดงการเปรียบเทียบ
  • เขียนกราฟแท่ง
  • เขียนจูงใจ
  • เขียนบันทึกประสบการณ์
  • เขียนรายการ
  • เขียนประกาศ
  • เขียนสรุป
  • ทำแปลนพื้นบ้าน
  • วาดรูป
  • เขียนนิยามและความสำคัญ
  • ตั้งชื่อเรื่อง
  • เขียนจดหมาย
  • เขียนคำกล่าว
บทสรุป
  • เขียนสรุปเรื่อง
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์
  • เขียนรายการ
  • เขียนแผนงาน
  • ตอบโทรศัพท์
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • เขียนโปสการ์ด
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนสรุปความสำคัญ
  • เขียนคำกล่าวในที่ประชุม
  • เขียนสรุปวิธีการ
  • เขียนเรื่องใหม่
  • ทำโปสเตอร์
  • เขียนเล่าเหตุการณ์
  • เขียนแผนการปฏิบัติ
  • วาดภาพจากจินตนาการ
  • เขียนสรุปรายการ
  • เขียนสรุปบทละคร
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • วาดภาพ
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนบทความ
  • เขียนประเด็นสำคัญ
  • เขียนสรุปรายละเอียด
  • ออกแบบ + เขียนรายละเอียด
  • เขียนอัตชีวประวัติตนเอง
  • เขียนบันทึก
  • เขียนจดหมาย
  • กรอกการ์ด
  • เขียนสรุปย่อ
  • เขียนรายงานข่าว
การสรุป/การลงความเห็น
  • เขียนบันทึก
  • ทำกราฟรูปภาพ
  • เขียนเรื่องจากจินตนาการ
  • เขียนโฆษณาภาพยนต์
  • ทำเส้นเวลา
  • เขียนบรรยาย
  • เขียนฉากต้นเรื่อง
  • เขียนบทความข่าว
  • เขียนรายละเอียด
  • เขียนรายการ
  • เขียนอธิบาย
  • เขียนเล่าเรื่อง
  • เขียนคำถามและคำตอบ
  • เขียนสรุป
  • เขียนแผนที่
  • เขียนแผนการทำงาน
  • เขียนจดหมาย
  • เขียนเรื่องลี้ลับ
  • เขียนคำถาม
  • เขียนตอนจบของเรื่อง
  • เขียนเรื่องสั้น
  • ทำกราฟเส้นตรง
  • เขียนบรรยายภาพ
  • เขียนบทละคร
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนสรุป
  • วาดรูป
  • เขียนความคิดเห็น
  • เขียนบทความข่าว
  • เขียนคำบรรยายบนกล่องดีวีดี
  • เขียนโบรชัวร์
บทสรุป
  • เขียนสรุปเรื่อง
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์
  • เขียนรายการ
  • เขียนแผนงาน
  • ตอบโทรศัพท์
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • เขียนโปสการ์ด
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนสรุปความสำคัญ
  • เขียนคำกล่าวในที่ประชุม
  • เขียนสรุปวิธีการ
  • เขียนเรื่องใหม่
  • ทำโปสเตอร์
  • เขียนเล่าเหตุการณ์
  • เขียนแผนการปฏิบัติ
  • วาดภาพจากจินตนาการ
  • เขียนสรุปรายการ
  • เขียนสรุปบทละคร
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • วาดภาพ
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนบทความ
  • เขียนประเด็นสำคัญ
  • เขียนสรุปรายละเอียด
  • ออกแบบ + เขียนรายละเอียด
  • เขียนอัตชีวประวัติตนเอง
  • เขียนบันทึก
  • เขียนจดหมาย
  • กรอกการ์ด
  • เขียนสรุปย่อ
  • เขียนรายงานข่าว
ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนความคิดเห็น
  • วาดภาพ
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนข้อความใต้ภาพ
  • เขียนบทความจากการสัมภาษณ์
  • แสดงตลก
  • เขียนสรุปย่อ
  • เขียนคำโฆษณา
  • เขียนบันทึก
  • เขียนแผนงาน
  • เขียนอัตชีวประวัติ
  • เขียนบันทึก
  • เขียนบทละคร
  • วาดการ์ตูน
  • เขียนรายการ
  • เขียนบทความ
  • เขียนอธิบาย
  • เขียนเล่าเรื่อง
  • เขียนคำกล่าวสุนทรพจน์
  • เขียนจดหมาย
  • เขียนบทวิจารณ์
  • เขียนข้อเท็จจริง
  • เขียนเมนูอาหาร
  • เขียนเรื่องจากจินตนาการ
  • เขียนอธิบาย
  • เขียนบรรยาย
  • เขียนคำแนะนำ
  • ทำการ์ดบอกคะแนน
บทสรุป
  • เขียนสรุปเรื่อง
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์
  • เขียนรายการ
  • เขียนแผนงาน
  • ตอบโทรศัพท์
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • เขียนโปสการ์ด
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนสรุปความสำคัญ
  • เขียนคำกล่าวในที่ประชุม
  • เขียนสรุปวิธีการ
  • เขียนเรื่องใหม่
  • ทำโปสเตอร์
  • เขียนเล่าเหตุการณ์
  • เขียนแผนการปฏิบัติ
  • วาดภาพจากจินตนาการ
  • เขียนสรุปรายการ
  • เขียนสรุปบทละคร
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • วาดภาพ
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนบทความ
  • เขียนประเด็นสำคัญ
  • เขียนสรุปรายละเอียด
  • ออกแบบ + เขียนรายละเอียด
  • เขียนอัตชีวประวัติตนเอง
  • เขียนบันทึก
  • เขียนจดหมาย
  • กรอกการ์ด
  • เขียนสรุปย่อ
  • เขียนรายงานข่าว
มูลเหตุและผลลัพธ์
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนแสดงความคิดเห็น
  • เขียนหัวข้อโปสเตอร์ภาพยนต์
  • เขียนอธิบาย
  • เขียนรายงานสภาพอากาศ
  • เขียนอีเมล์
  • เขียนผังเรื่องภาพยนต์
  • วาดภาพ
  • เขียนแผนงาน
  • เขียนบทสรุป
  • เขียนบันทึก
  • เขียนคำบรรยายด้านหลังหนังสือ
  • เขียนบรรยาย
  • เขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์
  • เขียนรายการ
  • เขียนแผนผังความคิด
  • เขียนข่าว
  • เขียนแผนที่
  • เขียนเล่าเรื่อง
  • เขียนเส้นเวลา
  • ตั้งชื่อเรื่อง
  • เขียนปัญหาและผลลัพธ์
  • เขียนจดหมาย
  • เขียนแผ่นพับ
  • ทำกราฟวงกลม
  • เขียนหัวข่าว
  • ทำเกมกระดาน
บทสรุป
  • เขียนสรุปเรื่อง
  • กรอกผังตาราง
  • เขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์
  • เขียนรายการ
  • เขียนแผนงาน
  • ตอบโทรศัพท์
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • เขียนโปสการ์ด
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนสรุปความสำคัญ
  • เขียนคำกล่าวในที่ประชุม
  • เขียนสรุปวิธีการ
  • เขียนเรื่องใหม่
  • ทำโปสเตอร์
  • เขียนเล่าเหตุการณ์
  • เขียนแผนการปฏิบัติ
  • วาดภาพจากจินตนาการ
  • เขียนสรุปรายการ
  • เขียนสรุปบทละคร
  • เขียนคำถามสัมภาษณ์
  • วาดภาพ
  • เขียนคำปราศัย
  • เขียนบทความ
  • เขียนประเด็นสำคัญ
  • เขียนสรุปรายละเอียด
  • ออกแบบ + เขียนรายละเอียด
  • เขียนอัตชีวประวัติตนเอง
  • เขียนบันทึก
  • เขียนจดหมาย
  • กรอกการ์ด
  • เขียนสรุปย่อ
  • เขียนรายงานข่าว
ปัญหาและคำตอบ
  • กรอกผังตาราง
  • วาดรูป
  • เขียนขั้นตอนการทำงาน
  • เขียนรายงาน
  • ทำโปสเตอร์
  • เขียนอีเมล์
  • ออกแบบร่างรูป
  • เขียนจดหมาย
  • เขียนเรื่องย่อภาพยนต์
  • ตั้งชื่อ
  • เขียนรายการ
  • เขียนอธิบาย
  • ทำกราฟแท่ง
  • ทำแผนที่
  • เขียนโฆษณาทีวี
  • เขียนปัญหาและคำตอบ
  • เขียนบทความ
  • เขียนบทความหนังสือพิมพ์
  • เขียนเรื่องเล่าจากจินตนาการ
  • เขียนโปสการ์ด
  • เขียนบรรยาย
  • เขียนแผนงาน
  • เขียนรายการปฏิบัติงาน
  • เขียนสรุปย่อ
  • เขียนแผนผังความคิด
  • เขียนโฆษณา
  • เขียนบันทึกประจำวัน
  • เขียนบันทึกเหตุการณ์
  • เขียนคำบรรยายใต้รูปวาด

กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ

3. กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ

เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ภาษาไทยในหลากหลายแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่างๆ ได้แก่

  1. การแสดงความสามารถในด้านทักษะภาษาไทย
    • การพูด เช่น การเป็นพิธีกร การกล่าวสุนทรพจน์ การโต้วาที
    • การอ่าน เช่น การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว-ร้อยกรอง การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
    • การเขียน เช่น การเขียนคำศัพท์ การแต่งบทกลอนและบทกวีต่างๆ
  2. กิจกรรมบนเวที
    • การแสดงจินตลีลาประกอบเพลง เพื่อสื่อความหมายของเพลงอย่างมีสุนทรียะ
    • การแสดงละครพื้นบ้าน เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาวรรณคดีสู่ผู้ชมอย่างง่ายๆและสนุกสนาน

ภาษาไทยบูรณาการสู่กิจกรรมเรียนรู้คือความสุข

4. ภาษาไทยบูรณาการสู่กิจกรรมเรียนรู้คือความสุข

กิจกรรมเรียนรู้คือความสุขคือกลุ่มกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในหลักสูตร ประกอบด้วย กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า เรียนรู้ด้วยการคิด เรียนรู้ด้วยโครงงาน และเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งได้มีการบูรณาการสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเข้าไว้ในกลุ่มกิจกรรมดังกล่าวนี้ ดังต่อไปนี้

  1. เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า (Learn Through Stories)
  2. เป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละวันด้วยการรับรู้เรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจและเหมาะกับวัยของนักเรียน ซึ่งคุณครูจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเล่าเรื่อง (ประกอบภาพ/กิจกรรม) เกี่ยวกับเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ บุคคล สิ่งของ และอื่นๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ของนักเรียนไปสู่ขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้อย่างเป็นรูปธรรม ในเรื่องเล่าหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

    ปีการศึกษา 2551 ปีการศึกษา 2552 ปีการศึกษา 2553
    เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก นิทานไทย (วรรณคดีเรื่องต่างๆ) นิทานไทย (นิทานพื้นบ้าน)

    สำหรับปีการศึกษา 2554 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เล่าเรื่องเล่า เรื่อง รามเกียรติ์

  3. เรียนรู้ด้วยการคิด (Learn Through Thinking)
  4. เป็นกิจกรรมปลายเปิดเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนในด้านต่างๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกเหนือหลักสูตร โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้ในหัวข้อ หรรษาภาษาไทย ในทุกๆ วันศุกร์

  5. เรียนรู้ด้วยโครงงาน (Learn Through Projects)
  6. เป็นกิจกรรมที่ใช้การดำเนินการที่หลายหลากเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเป็นกระบวนการ ในกิจกรรมนี้นักเรียนจะได้มีโอกาสฝึก/พัฒนากระบวนการคิดและกระบวนการทำงานในหัวข้อที่นักเรียนสนใจและเลือกเองภายใต้ Theme ที่กำหนด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมนี้โดยใช้ทักษะภาษาด้านต่างๆ ทั้งการฟัง (เรื่องเล่า การบรรยาย วิทยากร) การพูด (นำเสนองาน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น) การอ่าน (การอ่านหนังสือ การอ่าน internet) และการเขียน ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในหลายกิจกรรม ดังต่อไปนี้

    ปีการศึกษา 2551 โครงงานมหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล (Miracle of the Sea)

    เป็นโครงงานในแนววิทยาศาสตร์ ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปโดยกิจกรรมดังนี้

  • เขียนนิทานจากท้องทะเล
  • เขียนเรื่องเล่าชาวประมง
  • เขียนเรียงความ ยกพลขึ้นบก... จากทะเลสู่ตลาดปลา
  • เขียนบทความ จากทะเลสู่ครัวไทย...สู่ครัวโลก
  • กระบวนการแปรรูปอาหารทะเล
  • ทำ Mini Book กระบวนการแปรรูปอาหารทะเล กว่าจะมาเป็น...

ปีการศึกษา 2552 โครงงานมหัศจรรย์พรรณพฤกษา (Miracle of Plant)

เป็นโครงงานในแนววิทยาศาสตร์ ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปโดยกิจกรรมดังนี้

  • เขียนนิทานพรรณไม้
  • ขียนเรื่องเล่าชาวสวน
  • ทำใบปลิวโฆษณาผลไม้แปรรูปในครัวเรือน
  • เขียนบทความ พืชท้องถิ่นสู่ตลาดโลก
  • ทำ Mini Book กว่าจะเป็น...

ปีการศึกษา 2553 โครงงานมหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It ’s a Small Wonderful World)

เป็นโครงงานในแนวสังคมศาสตร์ ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปโดยกิจกรรมดังนี้

  • เขียนข้อมูลในแผนที่ เช่น ประเทศ เมือง ทะเล ภูเขา แม่น้ำ
  • เขียนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆ
  • เขียนข้อมูลทางประวัติศาสตร์
  • เขียนอัตชีวประวัติบุคคลสำคัญ
  • เขียนข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
  • เขียนรายงานการค้นคว้าข้อมูลเฉพาะที่น่าสนใจของแต่ละประเทศ
  • ทำเส้นเวลา
  • ภาษานานาชาติ (คำทักทาย ตัวอักษร ภาษา)

ปีการศึกษา 2554 โครงงานชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It ’s a Beautiful Life)

เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน ซึ่งบูรณาการภาษาไทยเข้าไปในหัวข้อการเรียนรู้ “หนูเป็นคนไทย (I Am Thai) โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นไทยอย่างครบถ้วนทุกแง่มุม ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหาร และการดำเนินชีวิต

  • เรียนรู้นอกห้องเรียน (Learn Beyond Classroom)
  • เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลายในโลกรอบตัวจากสถานที่จริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ทัศนคติ และโลกทัศน์ ในการเรียนรู้ที่มีความหมายให้กับนักเรียนได้อย่างมาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้บูรณาการในกิจกรรมนี้โดยการนำนักเรียนไปเรียนรู้ในสถานที่ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

    ปีการศึกษา 2550 หัวข้อ วัฒนธรรมที่หลายหลาก (Culture Tours)

    • เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
    • ศูนย์อนุรักษ์ควายไทย จ.สุพรรณบุรี
    • พระราชวัง บางปะอิน วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
    • วิถีชีวิตชุมชน จ.เพชรบุรี : ร้านขนมไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี (เขาวัง) เตาตาลบ้านหม้อ ชุมชนชาวไทยทรงดำ
    • ชีวิตที่พอเพียง อัมพวา จ.สมุทรสงคราม : วัดภุมรินทร์กุฎีทอง บ้านแมวไทย สวนผลไม้ ตลาดน้ำอัมพวา อุทยาน ร.2

    ปีการศึกษา 2553 หัวข้อมหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It ’s a Small Wonderful World)

    • ความรุ่งเรืองในอดีต จ.พระนครศรีอยุธยา : วัดใหญ่ชัยมงคล วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระศรีสรรเพชญ์

    ปีการศึกษา 2554 หัวข้อชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It ’s a Beautiful Life)

    • หนูเป็นคนไทย : วัดพระแก้ว Museum Siam

    กิจกรรมเรียนรู้คือความสุข

    นอกจากวิชาแกนหลักที่ทางโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ได้มุ่งเน้นแล้ว กิจกรรมเสริมการเรียนรู้นั้นก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อให้การเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสุขสนุกสนาน ทางโรงเรียนได้แบ่งจัดกิจกรรมตามการเสริมสร้างในด้านต่างๆ ดังนี้

    • กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า
         เป็นการฝึกฝนให้เด็กมีทักษะการพูดและการแสดงออกที่ดี
    • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยการคิด
         ช่วยให้เด็กฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ
    • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยโครงงาน
         การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการลงมือปฏิบัติ
    • กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน
         ความรู้ไม่เคยถูกปิดกัน ในทุกๆ สถานที่คือการเรียนรู้
    • กิจกรรมเรียนรู้ด้วยการอ่าน
         เมื่อได้อ่านเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กเกิดความชำนาญในการอ่าน การสรุปใจความ การวิเคราะห์ ฯลฯ

    นักเรียนได้อะไรจากกิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข”

    นับเป็นโอกาสดีสำหรับเด็กๆ ในยุคนี้ ที่ได้เกิดมาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ การเข้าถึงแหล่งความรู้ทำได้หลายวิธีและสะดวกอย่างมาก ซึ่งเปรียบเทียบไม่ได้เลยกับโลกในยุคเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ซึ่งดูเหมือนว่าห้องสมุดจะเป็นแหล่งเรียนรู้เพียงแห่งเดียวและห้องสมุดก็มัก จะมีแหล่งข้อมูลอย่างจำกัดเป็นอย่างมาก

    แหล่งข้อมูลที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้ น่าสนใจและเหมาะสมกับวัย แต่ไม่ได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรยังมีอยู่มากมาย “เรียนรู้คือความสุข” เป็นกิจกรรมมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมหลายหลากที่น่าสนุก ชวนติดตามและเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ให้กับเด็กๆ กิจกรรม “เรียนรู้คือความสุข” ได้ให้อะไรมากมายหลายอย่างกับนักเรียนที่โรงเรียนฯ

    • เปิดโลกทัศน์นักเรียนให้กว้างขวาง รู้จักโลกรอบตัวของพวกเขา
    • สร้างความทันสมัยในเรื่องข่าวสารข้อมูล ทำให้นักเรียนได้รับรู้ข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ บุคคล และเหตุการณ์รอบตัวทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
    • บูรณาการความรู้ที่เรียนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ สู่กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการยกระดับทักษะการเรียนรู้
    • สร้างเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนเห็นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีความสุขกับการได้เรียนรู้ เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาตนเองเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learners)
    • พัฒนาทักษะและตรรกะในการคิดทั้งในเชิงวิเคราะห์เชิงกระบวนการ เชิงวิพากษ์และเชิงสร้างสรรค์(critical and creative thinking)
    • ฝึกให้นักเรียนได้คิดในระดับที่สูงขึ้น (higher orderthinking)
    • พัฒนาทักษะด้านสังคม ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    • กระตุ้นให้กล้าแสดงออกซึ่งความคิดและความคิดเห็น กล้าคิด กล้าซักถามในสิ่งที่ตนกระหายใคร่รู้
    • ฯลฯ

    เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า

    เรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า (Learn through Stories)

    เด็กๆ กับเรื่องเล่า

    เด็กทุกคนล้วนมีความใฝ่รู้ และมีความสุขกับการได้ฟัง ได้ชม เพลิดเพลิน เข้ามีส่วนร่วม และเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมเรื่องเล่าที่หลายหลาก ประเภทของเรื่องเล่าที่เด็กชอบที่จะฟังมีอยู่มากมายเช่น นิทาน ตำนาน ชีวิตสัตว์ประวัติศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับบุคคล เรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ที่น่าสนใจ เรื่องลี้ลับ ฯลฯ

    กิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่าจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของนักเรียนดังกล่าวข้างต้น และพัฒนานักเรียนในหลายด้าน:

    • เป็นกิจกรรมเรียนรู้ที่ไม่จำกัดขอบเขต จัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับระดับของนักเรียนได้ง่าย
    • เด็กๆ ได้รับรู้เรื่องราวรอบตัว ทำให้เปิดกว้างต่อการคิดและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเต็มใจ โดยไม่คำนึงว่าเรื่องนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับวิชาที่เรียนในระบบหรือไม่
    • ยกระดับโลกทัศน์ให้กับนักเรียนได้อย่างกว้างขวาง
    • สร้างให้เด็กเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ และทำให้นักเรียนได้ค่อยๆ ซึมซับเจตคติที่ถูกต้องต่อการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
    • ขยายขอบเขตการเรียนรู้ในกลุ่มสาระวิชามุมมองที่กว้างขวางและ/หรือลึกซึ้งขึ้น
    • เด็กๆ ได้เห็นและเข้าใจถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูล เพื่อการนำเสนอ

    ธีมและหัวข้อเรื่องเล่า

    เราสามารถเลือกสรรหาธีมหรือหัวข้อเรื่องเล่าที่เหมาะสมกับความสนใจของนักเรียนได้มากมาย ต่อไปนี้เป็นบางตัวอย่างของเรื่องเล่าที่โรงเรียนฯ นำมาใช้ในช่วงระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา

    อาณาจักรอียิปต์โบราณ

    • พีระมิด
    • แม่นำ้ไนล์
    • มัมมี่: ความเชื่อในโลกหลังความตายและการทำมัมมี่
    • เทพเจ้าและตำนานเทพเจ้าอียิปต์
    • ฟาโรห์
    • วิหารอียิปต์
    • อักษรฮีโรกลิฟฟิกส์ (Hieroglyphics)

    โลกลี้ลับ

    • อาณาจักรอินคา
    • สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า
    • เส้นนาซก้า
    • ยูเอฟโอกับมนุษย์ต่างดาว
    • เกาะเทพเจ้าราปานุย
    • วงกลมปริศนา (Crop circles)

    สารคดีชีวิตสัตว์

    สถานที่สำคัญของโลก

    • Acropolis
    • กำแพงเบอร์ลิน
    • โคลอสเซียม
    • หอเอนปิซา
    • มหาพีระมิดแห่งกิซา
    • มาชูปิกชู
    • อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ
    • นครวัด นครธม
    • หอไอเฟล
    • พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
    • จตุรัสแดง
    • สโตนเฮนจ์
    • กำแพงเมืองจีน
    • ทัชมาฮาล

    บุคคลประวัติศาสตร์

    • มหาราชของไทย
    • หลวงพ่อพุทธทาส
    • ลีโอนาร์โด ดา วินซี
    • พระเจ้านโปเลียนมหาราช
    • พระพุทธเจ้า
    • พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
    • แม่ชีเทเรซา
    • เซอร์ไอแซ็ค นิวตัน
    • กาลิเลโอ

    ข่าวรอบตัว

    อาณาจักรกรีซโบราณ

    • นักปรัชญา ปราชญ์และกษัตริย์
    • สถาปัตยกรรมและวิหารกรีซ
    • เทพเจ้าและเทพนิยายกรีซ
    • ศิลปะกรีซ
    • อักษรกรีซ
    • กีฬาโอลิมปิก
    • มรดกกรีซ

    สาธารณรัฐและอาณาจักรโรมัน

    • กำเนิดและการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน
    • ซีซาร์
    • สถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้าง เอควาดัคต์ โคลอสเซียม หอเอน วิหารเซนต์ปีเตอร์ ฯลฯ
    • ศิลปะโรมัน
    • เทพเจ้าโรมัน
    • อักษรและเลขโรมัน
    • มรดกโรมัน

    เมืองสำคัญของโลก

    • มอสโคว์
    • ปักกิ่ง
    • วอชิงตัน ดี ซี
    • ปารีส
    • โรม
    • เวนิซ
    • ลอส แองเจลิส
    • ลอนดอน
    • เบอร์ลิน
    • โตเกียว
    • เมกกะ
    • นิวยอร์ค
    • เวียนนา
    • กรุงเทพฯ

    เอกลักษณ์ไทย

    • ข้าวไทย
    • ธงชาติไทย
    • อักษรและภาษาไทย
    • ความเป็นเอกราช
    • อาหารไทย
    • เงินตรา
    • สถาบันพระมหากษัตริย์

    เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

    • สิ่งของเครื่องใช้
    • ยานพาหนะ
    • คอมพิวเตอร์
    • วัสดุ
    • ฯลฯ

     

    เรียนรู้ด้วยการคิด

    แม้ว่าในห้องเรียน นักเรียนจะได้รับการพัฒนาการคิดอยู่ตลอดเวลา แต่ก็เป็นการดำเนินการที่ผสมผสานไปกับเนื้อหาในกรอบของหลักสูตรโรงเรียนฯ โรงเรียนฯจึงได้พัฒนากิจกรรมเรียนรู้ด้วยการคิดขึ้นโดยใช้เวลาโฮมรูมวันละประมาณ30 นาทีหลังกิจกรรมเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า กิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรมปลายเปิดเพื่อพัฒนากระบวนการคิดในด้านต่างๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกเหนือหลักสูตร โดยจัดแบ่งหัวข้อตามวันดังนี้

    • วันจันทร์ .........เรียนรู้รอบทิศ
    • วันอังคาร........ภาษาอังกฤษแสนสุข
    • วันพุธ..............สนุกคิดคณิตศาสตร์
    • วันพฤหัสบดี .....ฉลาดพหุปัญญา
    • วันศุกร์ .............หรรษาภาษาไทย

    ในช่วงเวลาดังกล่าวนักเรียนจะได้มี โอกาสทำใบงานที่ท่าทายความคิดในด้านต่างๆ ร่วมกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    เรียนรู้รอบทิศ

    ภาษาอังกฤษแสนสุข

    สนุกคิดคณิตศาสตร์

    ฉลาดพหุปัญญา

    หรรษาภาษาไทย

     

    เรียนรู้ด้วยโครงงาน

    เรียนรู้ด้วยโครงงาน (Learn Through Projects)

    โครงงานเป็นการเรียนรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลังให้กับนักเรียน

    การเรียนรู้ด้วยโครงงาน สร้างแรงบันดาลใจ ความสำเร็จและพลัง ให้กับนักเรียน ได้โดย

    • ให้ประสบการณ์นอกเหนือไปจากชั้นเรียน
    • เสริมสร้างทักษะสำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสร้างสรรค์
    • ให้นักเรียนได้มีโอกาสบูรณาการเทคโนโลยีเข้าสู่ชั้นเรียน และนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย แทนที่จะเรียนแล้วจบลงตรงนั้น
    • ให้โอกาสเด็กได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับจากการเรียนการสอนในระบบ
    • เพิ่มพูนความต้องการ ความสนใจ และจุดแข็งให้กับเด็กทุกคน และให้เด็กได้มีโอกาสทำงานด้วยจังหวะความเร็วของตน
    • สร้างให้เด็กเกิด “สำนึกในเป้าหมาย (sense of purpose)” และเสริมสร้างการตระหนักในคุณค่าของตน (self-esteem)
    • พัฒนาทักษะการอ่านเขียนและการสื่อสารให้แหลมคมยิ่งขึ้น โดยให้เด็กสามารถใช้สื่อต่างๆ เพื่อแบ่งปันกระบวนการและผลผลิตของตนต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
    • บูรณาการทักษะและความรู้ในเนื้อหารายวิชาต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เห็นและสร้างการเชื่อมโยงภายในหลักสูตร

    เกณฑ์การกำหนดหัวข้อโครงงาน

    • มีสภาพความเป็นจริง เป็นรูปธรรม
    • สอดคล้องกับหลักสูตร
    • สอดคล้องกับระดับความรู้ความสามารถและวัยของผู้เรียน
    • เป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
    • ตอบสนองต่อความกระหายใคร่รู้ของเด็ก

    ข้อดีของการเรียนรู้การเรียนรู้ด้วยโครงงาน

    • การออกแบบโครงงานที่ดีกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง
    • เป็นการยกระดับศักยภาพการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวนักเรียน
    • ช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง
    • พัฒนาการทำงานแบบร่วมมือ และการสื่อสาร
    • ในกิจกรรมโครงงาน นักเรียนจะตั้งเป้าหมายการทำงานให้กับตัวเอง นับเป็นการฝึกตั้งเป้าหมายชีวิตควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นๆ
    • ช่วยพัฒนาความตระหนักในคุณค่าของตนเอง (self-esteem) ที่โดกปกติแล้ว ในการเรียนการสอนในระบบ เด็กมักประสบปัญหาเมื่อสอบได้ไม่ดีเท่าเพื่อน
    • พัฒนาเจตคติต่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
    • หากผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในโครงงาน ผลสัมฤทธิ์จะมีค่าเท่ากับหรือสูงกว่าการเรียนรู้แบบอื่น
    • เด็กได้เห็นการเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาต่างๆ
    • ช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน
    • เป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพครู
    • ครูได้ค้นพบรูปแบบของวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานสอนในระบบของตนได้ในหลายโอกาส

    ความท้าทายของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

    • การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการระดมทรัพยากรด้านต่างๆทั้ง ค่าใช้จ่าย เวลา แหล่งข้อมูลและแหล่งความรู้ ความคิด และความร่วมมือร่วมใจ สูงกว่าการจัดการเรียนรู้ในระบบมาก
    • ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม และการร่วมมือกันกำหนดระยะเวลา วางแผน และดำเนินกิจกรรมระหว่างเพื่อนครูเพื่อบูรณาการข้ามสาระ
    • การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่คงที่เหมือนการเรียนการสอนในระบบ
    • ต้องอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
    • ต้องอาศัยแนวทางในการประเมินตามสภาพจริง

    การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นลำดับตามข้อกำหนดและมาตรฐานการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ เป็นงานที่ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย และยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนที่แสดงถึงว่าสถานศึกษาใดสามารถสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงงานเท่านั้น อนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ การเรียนรู้ด้วยโครงงานนับเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการพัฒนานักเรียน (ใช้เวลา 80 คาบต่อปีการศึกษา ในเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 1500 คาบเรียนในหนึ่งปีการศึกษา)

    บรรยากาศห้องเรียนเรียนรู้ด้วยโครงงาน

    • คำถามที่ตั้งควรมีคำตอบที่ถูกต้องได้มากกว่าหนึ่งคำตอบ
    • มีบรรยากาศที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง
    • นักเรียนได้ตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
    • นักเรียนได้ออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา
    • นักเรียนมีโอกาสประเมินกิจกรรมและผลงาน
    • มีกระบวนการการประเมินอย่างต่อเนื่อง
    • มีผลผลิตสุดท้ายที่สามารถนำมาประเมินคูณภาพได้

    ลักษณะกิจกรรม

    โครงงานของปีที่ผ่านมา

    2551: มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล (Miracle of the Sea)

    2552: มหัศจรรย์พรรณพฤกษา (Miracle of Plants)

    2553: มหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It’s a Small Wonderful World)

    2554: ชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It’s a Beautiful Life)

    2555: จักรวาล (Universe)

    2556: สัตว์โลกผู้น่ารัก

    เรียนรู้นอกห้องเรียน

    เรียนรู้นอกห้องเรียน (Learn Beyond Classroom)

    กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นกิจกรรมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนฯ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสสัมผัสกับแหล่งเรียนรู้จริง และยังเป็นโอกาสที่ครูและนักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันนอกโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางเที่ยวปิดท้าย จะเป็นการพักแรมเป็นเวลา 1 คืน ในการเดินทางเพื่อเรียนรู้นอกห้องเรียนทุกครั้ง จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 10-15 คน ประกอบกับการเตรียมการล่วงหน้า ทำให้การทำกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนเกือบไม่ต้องเดินเรียงแถวหรือยืนรอนานซึ่งทำให้เสียบรรยากาศและโอกาสเรียนรู้  คุณครูแต่ละกลุ่มจะมีข้อมูลและมีความพร้อมในการดูแลนักเรียนเพื่อการเรียนรู้ดังกล่าว

    การจัดการเรียนรู้นอกโรงเรียน ของโรงเรียนอัตตาภิวัฒน์จะดำเนินไปอย่างมีระบบและมี 3 ขั้นตอนคือ

    นอกเหนือจากเหตุผลของการเตรียมการแล้ว โรงเรียนฯ ได้จัดแหล่งเรียนรู้ในแต่ละปี ให้สอดคล้องกับธีมของ “เรียนรู้คือความสุข” ทำให้กิจกรรมนี้มีความหมายต่อนักเรียนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของแหล่งเรียนรู้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

    ปี 2551: มหัศจรรย์ใต้ท้องทะเล (Miracle of the Sea)

    • Underwater World เมืองพัทยา
    • เรือประมงเชิงพาณิชย์ (เรือแม่) ท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร
    • โรงงานอาหารทะเลสำเร็จรูป พรานทะเล จังหวัดสมุทรสาคร
    • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน       จังหวัดจันทบุรี

     

     

     

     

    ปี 2552: มหัศจรรย์พรรณพฤกษา (Miracle of Plants)

    • ท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนนทบุรี
    • สวนผลไม้ปลอดสารพิษ
    • สวนกล้วยไม้ส่งออก
    • โรงปลูกผักกางมุ็งและผักไร้ดิน
    • โรงงานน้ำผลไม้ Unif จังหวัดสมุทรสาคร
    • อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

    ปี 2553: มหัศจรรย์โลกใบเล็ก (It’s a Small Wonderful World)

    • ความรุ่งเรืองในอดีต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      • วัดใหญ่ชัยมงคล
      • วัดไชยวัฒนาราม
      • วัดราชบูรณะ
      • วัดมหาธาตุ
      • วัดพระศรีสรรเพชญ์
    • พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี
    • เมืองจำลอง เมืองพัทยา
    • สัมผัสโลกตะวันตก จังหวัดนครราชสีมา
    • Dairyhome
    • ไร่องุ่น PB Valley
    • Palio
    • Panther Creek
    • ไร่ทองสมบูรณ์

    ปี 2554: ชีวีปรีดา...ชีวาน่าชื่นชม (It’s a Beautiful Life)

    • I Am Thai
    • วัดพระแก้วฯ และพระบรมมหาราชวัง
    • Museum Siam
    • ทำข้าวกล่อง Bento
    • My Beautiful Life จังหวัดราชบุรี
    • อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
    • โรงงานเซรามิคเถ้าฮงไถ่
    • Big C Supermarket
    • ธารบ่อน้ำร้อนบ่อคลึง
    • บ้านหอมเทียน
    • The Scenery Resort & Farm
    • ภูผาผึ้งรีสอร์ท

    แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่งสำหรับกิจกรรม “เรียนรู้นอกห้องเรียน” โรงเรียนฯ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงการทำงานของแหล่งชุมชนต่างๆ หรือเรียนรู้เกี่ยวกับสถานท่ีสำคัญของจังหวัดสมุทรสาคร เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีพระกรุณามหาธิคุณจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกของประเทศไทยที่ตำบลท่าฉลอมและถูกพัฒนาต่อมาเป็นเทศบาล ศาลเจ้าพันท้ายนรสิงห์  โรงพยาบาลบ้านแพ้วซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่มีชื่อเสียงของประเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์ สมุทรสาคร สำนักงานไปรษณีย์ ศูนย์ 3 วัย ศูนย์เบญจรงค์ พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย

    เรียนรู้ด้วยการอ่าน

    อ่านเพื่อเรียนรู้ (Read to Learn)

    อ่านเพื่ออะไร (Reasons to Read)

    • การอ่านช่วยให้เราเป็นบุคคลที่น่าสนใจ (Reading helps you become an interesting person.)
    • การอ่านช่วยให้เราเขียนได้ดี (Reading helps you learn how to write correctly.)
    • การอ่านให้ความเพลิดเพลิน (Reading entertains you.)
    • การอ่านสอนให้เราได้รู้จักสิ่งใหม่ๆ (Reading teaches you about things unfamiliar to you.)
    • การอ่านพาเราไปดินแดนที่เราไม่เคยไป (Reading helps you to places you’ve never visited.)
    • การอ่านพาเราไปสู่กาลเวลาที่เราไม่เคยได้ประสบ (Reading takes you to times you’ve never experienced.)
    • การอ่านแนะนำให้เรารู้จักกับบุคคลที่เราไม่เคยเจอ (Reading introduces you to people you’ve never met.)
    • การอ่านแนะนำให้เรารับความคิดใหม่ๆ (Reading introduces you to new ideas.)

    ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่าน

    เมื่อพูดถึงการเรียนการสอนเกี่ยวกับการอ่าน วิชาที่เราจะคิดถึงทันทีได้แก่ วิชาภาษาไทยและ/หรือวิชาภาษาอังกฤษ และโดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะคิดว่าก็มีอยู่เพียงสองวิชานี้เท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน แท้ที่จริงแล้วการเรียนการสอนในวิชาทางภาษาส่วนใหญ่ เป็นการพัฒนาความสามารถให้อ่านได้ ให้เข้าใจในหลักภาษา (Learn to Read) เพื่อนำเอาความสามารถเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่ออ่านได้เป็น สามารถคิดวิเคราะห์เนื้อความที่อ่าน ในแง่มุมต่างๆ ในการพอกพูนความรู้ความเข้าใจได้ (Read to Learn)

    กิจกรรม “อ่านเพื่อเรียนรู้ (Read to Learn)

    การจัดการเรียนรู้ “อ่านเพื่อเรียนรู้ (Read to Learn)” นี้ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่โรงเรียนฯ ได้ริเริ่มและกำลังดำเนินการอยู่ในวิชาภาษาไทย โดยโรงเรียนฯ ได้เรียบเรียงตำราเรียน “เพลินภาษา” เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนดังกล่าว ทั้งนี้โรงเรียนฯจะได้ขยายกิจกรรมดังกล่าวให้ครอบคลุมกลุ่มสาระรายวิชาหลักและจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในส่วนของเอกสาร ตำราและบทความที่ใช้ รวมถึงคณะครู เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงประโยชน์ เป้าหมายและการประยุกต์ใช้ ของการอ่านได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดดำเนินการในรูปกิจกรรมหนึ่งใน “เรียนรู้คือความสุข”

     

     

     

     

    ทักษะการ “อ่านเพื่อเรียนรู้”

    “อ่านเพื่อเรียนรู้” เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนใน 8 ด้านได้แก่

    • ความคิดหลักและรายละเอียด
    • ลำดับเหตุการณ์
    • เปรียบเทียบความคล้ายและความแตกต่าง
    • สรุปย่อ
    • สรุปความ
    • มูลเหตุและผลลัพธ์
    • ปัญหาและคำตอบ และ
    • ข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น

    การดำเนินกิจกรรม “อ่านเพื่อเรียนรู้”

    คณะครูจากกลู่มสาระวิชาแกนเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมดังกล่าวนี้ โดยที่ในปัจจุบันโรงเรียนฯ ได้คัดสรรและจัดหาหนังสือที่เหมาะสมในการนำมาใช้ได้แล้วเป็นจำนวนกว่า 200 เล่ม การจัดกิจกรรมการอ่านที่มีความหมายจะเริ่มต้นจากการจัดหมวดหมู่รายการหนังสือที่จะนำมาใช้ แนวทางหลักในการจัดหมวดหมู่หนังสืออาจทำได้ดังนี้

    จัดตามประเภท

    • จินตนาการ
    • เรื่องเล่าเค้าโครงความจริง
    • เรื่องลี้ลับ
    • เรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์
    • ชีวประวัติ
    • วรรณกรรมเด็ก
    • นิยายวิทยาศาสตร์
    • ฯลฯ

    จัดตามสาขา

    • วรรณกรรม
    • สังคมและวัฒนธรรม
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • ศิลปะ

    ฯลฯ

    จัดตาม Theme

    • บุคคลสำคัญ
    • สถานที่สำคัญ
    • ประเทศที่น่าสนใจ
    • เทคโนโลยี
    • จินตนาการ
    • จักรวาลและอวกาศ

    ฯลฯ

     

     

    คณะทำงานได้ร่วมประชุมระดมความคิดในการจัดทำกิจกรรมการอ่านและเขียนที่หลายหลาก และให้นักเรียนได้มีโอกาศผลิตผลงานเฉพาะของตนเอง ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมเกมต่างๆ เพื่อสร้างเป้าหมายการอ่านของนักเรียนให้เด่นชัด และให้นักเรียนเห็นถึงคุณค่าของการอ่าน

    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    โรงเรียนได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนใน 4 ลักษณะคือ

    • โรงเรียนฯ ได้จัดชมรมต่างๆ ให้นักเรียนได้เลือกเช่น เทควันโด ยิงธนู
    • กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
    • กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา
    • กิจกรรมว่ายน้ำ
    Error | Attaphiwat

    Error

    The website encountered an unexpected error. Please try again later.